วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอด

สมัยนั้น ไม้สาละทั้งคู่ เผล็จดอกสะพรั่งนอกฤดูกาล ดอกไม้ เหล่านั้นร่วง
หล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอก มณฑารพอันเป็นของทิพย์ก็ตกลง
มา จากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่น โปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาแม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่น
โปรยปรายลงยัง พระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ประโคมอยู่ในอากาศ
เพื่อ บูชาพระตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต ฯ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ ไม้สาละ
ทั้งคู่ เผล็จดอกบานสพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของ ตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอก มณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปราย
ลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่ง จันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่น โปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็
ประโคมอยู่ใน อากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต
ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่อง
สักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพนับถือ บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอด
เพราะ เหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ


ทีฆ. มหา. 10/129/112


วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของกรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรม 4 อย่างเหล่านี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.

กรรม 4 อย่าง อย่างไรเล่า ?

(1) ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มีอยู่.
(2) ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มีอยู่.
(3) ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ก็มีอยู่.
(4) ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็มีอยู่.


(1)
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมดำ มีวิบากดำ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน.

ครั้นเขาทำความปรุงแต่งดังนี้แล้ว
ย่อมเข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ผัสสะทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขา
ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไปด้วยความเบียดเบียน.

เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไปด้วยความเบียดเบียน อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว
ดังเช่น พวกสัตว์นรก.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่ากรรมดำ มีวิบากดำ.


(2)
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน.

ครั้นเขาทำความปรุงแต่งดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ผัสสะทั้งหลายที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขา
ซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน.

เขาอันผัสสะที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน อันเป็นสุขโดยส่วนเดียว
ดังเช่น พวกเทพสุภกิณหา.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่ากรรมขาว มีวิบากขาว.


(3)
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
ย่อมทำความปรุงแต่งทางกาย
อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา
อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ
อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง.

ครั้นเขาทำความปรุงแต่งดังนี้แล้ว
ย่อมเข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง.

ผัสสะทั้งหลาย
ที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขา
ผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง.

เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง
อันเป็นเวทนาที่เป็นสุขและทุกข์เจือกัน
ดังเช่น พวกมนุษย์ เทพบางพวก วินิบาตบางพวก.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.


(4)
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
นั้นเป็นอย่างไรเล่า? คือ

สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.


-จตุกฺก. อํ. 21/320-321/237

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทำไมคนที่ทำบาปกรรมอย่างเดียวกัน แต่รับวิบากกรรมต่างกัน

ภิกษุทั้งหลาย !

ใครพึงกล่าวว่า คนทำกรรมอย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้
เมื่อเป็นอย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ก็มีไม่ได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบ ก็ไม่ปรากฏ

ส่วนใครกล่าวว่า คนทำกรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้
เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ


ภิกษุทั้งหลาย !

บาปกรรมแม้ประมาณน้อย ที่บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้

บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น
บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย
( ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือ กรรมที่รู้เห็นผลได้ทันที )


บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดไร ทำแล้ว บาปกรรมนั้นจึงนำเขาไปนรกได้ ?

บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มีกายมิได้อบรม มีศีลมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม มีปัญญามิได้อบรม มีคุณความดีน้อย
เป็นอัปปาตุมะ ( ผู้มีใจคับแคบ ใจหยาบ ใจต่ำทราม )
เป็นอัปปทุกขวิหารี ( มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยเหตุเล็กน้อย คือเป็นคนเจ้าทุกข์ )

บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้


บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกัน.
บุคคลชนิดไร ทำแล้ว กรรมนั้นจึงเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย ?

บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้มีกายได้อบรมแล้ว มีศีลได้อบรมแล้ว มีจิต…มีปัญญาได้อบรมแล้ว มีคุณความดีมาก
เป็นมหาตมะ ( ผู้มีใจกว้างขวาง ใจบุญ ใจสูง )
เป็นอัปปมาณวิหารี ( มีปกติอยู่ด้วยธรรมอันหาประมาณมิได้ )

บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น
บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย.


ภิกษุทั้งหลาย !

ต่างว่า คนใส่เกลือลงไปในถ้วยน้ำเล็กๆ หนึ่งก้อน ท่านทั้งหลายจะสำคัญว่ากระไร ?
น้ำอันน้อยในถ้วยน้ำนั้น จะกลายเป็นน้ำเค็มไม่น่าดื่มไป เพราะเกลือก้อนนั้นใช่ไหม ?
“เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า !”

เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุว่า น้ำในถ้วยน้ำนั้นมีน้อย มันจึงเค็มได้…เพราะเกลือก้อนนั้น.

ต่างว่า คนใส่เกลือก้อนขนาดเดียวกันนั้นลงไปในแม่น้ำคงคา ท่านทั้งหลายจะสำคัญว่ากระไร?
น้ำในแม่น้ำคงคานั้นจะกลายเป็นน้ำเค็ม ดื่มไม่ได้ เพราะเกลือก้อนนั้นหรือ ?
“หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า !”

เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุว่า น้ำในแม่น้ำคงคามีมาก น้ำนั้นจึงไม่เค็ม…เพราะเกลือก้อนนั้น.

ฉันนั้นนั่นแหละ.

ภิกษุทั้งหลาย !

บาปกรรมแม้ประมาณน้อย
บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำไปนรกได้

ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น
บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย…


ภิกษุทั้งหลาย !
คนบางคนย่อมผูกพันเพราะทรัพย์ แม้กึ่งกหาปณะ… แม้ 1 กหาปณะ… แม้ 100 กหาปณะ
ส่วนบางคนไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น

คนอย่างไร จึงผูกพันเพราะทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ ฯลฯ
คนบางคนในโลกนี้เป็นคนจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย
คนอย่างนี้ย่อมผูกพันเพราะทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ. ฯลฯ

คนอย่างไร ไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น ?
คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
คนอย่างนี้ย่อมไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น

ฉันนั้นนั่นแหละ.


ภิกษุทั้งหลาย !

บาปกรรมแม้ประมาณน้อย
บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำไปนรกได้

ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น
บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย…


ภิกษุทั้งหลาย !

พรานแกะหรือคนฆ่าแกะบางคน อาจฆ่า มัด ย่าง หรือทำตามประสงค์ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้
บางคนไม่อาจทำอย่างนั้น

พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร จึงอาจฆ่า มัด ย่าง หรือทำตามประสงค์ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้ ?
บางคนเป็นคนยากจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย
พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ อาจฆ่า ฯลฯ ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้.

พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร ไม่อาจทำอย่างนั้น ?
บางคนเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็นพระราชาหรือราชมหาอำมาตย์
พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ ไม่อาจทำอย่างนั้น

มีแต่ว่าคนอื่นจะประณมมือขอกับเขาว่า
“ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านโปรดให้แกะหรือทรัพย์ค่าซื้อแกะแก่ข้าพเจ้าบ้าง” ดังนี้ ฉันใด

ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลาย !

บาปกรรมแม้ประมาณน้อย
บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำไปนรกได้

ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น
บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย…


ภิกษุทั้งหลาย !
ใครกล่าวว่า คนทำกรรมอย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้
เมื่อเป็นอย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ก็มีไม่ได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบ ก็ไม่ปรากฏ

ส่วนใครกล่าวว่า คนทำกรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้
เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ


วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์ เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว

ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ 3 ลัทธิเหล่านี้มีอยู่.
เป็นลัทธิ ซึ่งแม้บัณฑิตจะพากันไตร่ตรอง จะหยิบขึ้นตรวจสอบ จะหยิบขึ้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างไร
แม้จะบิดผันกันมาอย่างไร ก็ชวนให้น้อมไปเพื่อการไม่ประกอบกรรมที่ดีงามอยู่นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ 3 ลัทธินั้นเป็นอย่างไรเล่า ? 3 ลัทธิคือ
(1)
สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า
บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน” ดังนี้.
(2)
สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า
บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะการบันดาลของเจ้าเป็นนาย
” ดังนี้.
(3)
สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำและความเห็นว่า
บุรุษบุคคลใดๆ ก็ตาม ที่ได้รับสุข หรือได้รับทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลย” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง 3 นั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีถ้อยคำและความเห็นว่า
บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
เพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนอย่างเดียว” มีอยู่
เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สอบถามความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว
เรากล่าวกับเขาว่า
ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์…ลักทรัพย์…ประพฤติผิดพรหมจรรย์…พูดเท็จ …
พูดคำหยาบ … พูดยุให้แตกกัน … พูดเพ้อเจ้อ…มีใจละโมบเพ่งเล็ง…มีใจพยาบาท …
มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นก็ต้องเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน.
เมื่อมัวแต่ถือเอากรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน มาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว
คนเหล่านั้น ก็ไม่มีความอยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า
สิ่งนี้ควรทำ (กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ (อกรณียกิจ) อีกต่อไป.
เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ ไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว
คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้น
ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง 3 นั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีถ้อยคำและความเห็นว่า
บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะอิศวรเนรมิตให้ (อิสฺสรนิมฺมานเหตูติ)
” ดังนี้ มีอยู่
เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สอบถามความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว
เรากล่าวกะเขาว่า
ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์…ลักทรัพย์…ประพฤติผิดพรหมจรรย์…พูดเท็จ …
พูดคำหยาบ … พูดยุให้แตกกัน … พูดเพ้อเจ้อ…มีใจละโมบเพ่งเล็ง…มีใจพยาบาท …
มีความเห็นวิปริต เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ นั่นก็ต้องเป็นเพราะการเนรมิตของอิศวรด้วย.
ก็เมื่อมัวแต่ถือเอาการเนรมิตของอิศวร มาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว
คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำ หรือความพยายามทำในข้อที่ว่า
สิ่งนี้ควรทำ (กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ (อกรณียกิจ) อีกต่อไป.
เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ ไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว
คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้น
ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง 3 นั้น สมณพราหมณ์พวกใดมีถ้อยคำและความเห็นว่า
บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลย” ดังนี้ มีอยู่.
เราเข้าไปหาสมณะและพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สอบถามความที่เขายังยืนยันอยู่ดังนั้นแล้ว
เรากล่าวกะเขาว่า
ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์…ลักทรัพย์…ประพฤติผิดพรหมจรรย์…พูดเท็จ …
พูดคำหยาบ … พูดยุให้แตกกัน … พูดเพ้อเจ้อ…มีใจละโมบเพ่งเล็ง…มีใจพยาบาท …
มีความเห็นวิปริต เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ นั่นก็ต้องไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเลยด้วย.
ก็เมื่อมัวแต่ถือเอาความไม่มีอะไร เป็นเหตุเป็นปัจจัยเลย มาเป็นสาระสำคัญดังนี้แล้ว
คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำ หรือความพยายามทำ
ในข้อที่ว่าสิ่งนี้ควรทำ (กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ (อกรณียกิจ) อีกต่อไป.
เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ ไม่ถูกทำหรือถูกละเว้นให้จริงๆ จังๆ กันแล้ว
คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้น
ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่าเป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้” ดังนี้.

- ติก. อํ. 20/224/501


วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์ (อย่างเบา)

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ราชา (ผู้ปกครอง) ทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม,
สมัยนั้น ราชยุตต์ (ข้าราชการ) ทั้งหลาย
ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม;
เมื่อ ราชยุตต์ทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม,
พราหมณ์
และคหบดีทั้งหลาย ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม;
เมื่อ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม,
ชาวเมืองและชาวชนบททั้งหลาย ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม;
เมื่อ ชาวเมืองและชาวชนบททั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม,

ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ก็มีปริวรรต (การเคลื่อนที่,การหมุนเวียน) ไม่สม่ำเสมอ;
เมื่อ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ,
ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลาย ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ;

เมื่อ ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลาย มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ,
คืนและวัน ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ;

เมื่อ คืนและวัน มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ,
เดือนและ
ปักษ์ ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ;
เมื่อ เดือนและปักษ์ มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ,
ฤดู
และปี ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ;
เมื่อ ฤดูและปี มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ,
ลม (ทุกชนิด)
ก็พัดไปไม่สม่ำเสมอ;
เมื่อ ลม (ทุกชนิด) พัดไปไม่สม่ำเสมอ,
ปัญชสา (ระบบ
แห่งทิศทางลมอันถูกต้อง) ก็แปรปรวน;
เมื่อ ปัญชสา แปรปรวน, เทวดาทั้งหลาย ก็ระส่ำระสาย;
เมื่อ เทวดาทั้งหลาย ระส่ำระสาย, ฝนก็ตกลงมาอย่างไม่เหมาะสม;
เมื่อ ฝนตก ลงมาอย่างไม่เหมาะสม, พืชพรรณข้าวทั้งหลาย ก็แก่และสุกไม่สม่ำเสมอ;

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย บริโภคพืชพรรณ
ข้าวทั้งหลายอันมีความแก่และสุกไม่สม่ำเสมอ
ก็กลายเป็น
ผู้มีอายุสั้น ผิวพรรณทราม ทุพพลภาพและมีโรคภัยไข้เจ็บมาก.

(ข้อความต่อไปนี้ ได้ตรัสถึงภาวะการณ์ที่ตรงกันข้าม
ผู้
ศึกษาพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม ตลอดสาย)

จตุกฺก. อํ ๒๑/๙๗/๗๐.

การดำรงชีพชอบโดยทิศ ๖ ของฆราวาส

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในอริยวินัย มีการนอบน้อม
ทิศทั้งหกอย่างไร พระเจ้าข้า ! พระองค์จงทรงแสดงธรรมที่เป็นการนอบน้อมทิศทั้งหกในอริยวินัยเถิด”
คหบดีบุตร ! เมื่อใด อริยสาวกละเสียได้ซึ่ง
กรรมกิเลส ๔ ประการ ไม่กระทำกรรมอันเป็นบาปโดย
ฐานะทั้งสี่ และไม่เสพทางเสื่อม (อบายมุข) แห่งโภคะ ๖ ทาง,
เมื่อนั้น เขาชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากกรรมอันเป็นบาป รวม ๑๔ อย่าง
เป็นผู้ปิดกั้นทิศทั้งหกโดยเฉพาะแล้ว;
ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า เขาปฏิบัติแล้วเพื่อชนะโลกทั้งสอง,
ทั้งโลกนี้และโลกอื่น เป็นอันเขาปรารภกระทำครบถ้วนแล้ว(อารทฺโธ),
เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย, ดังนี้.

กรรมกิเลส ๔ ประการ อันอริยสาวกนั้น ละเสียได้แล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?
คหบดีบุตร ! ปาณาติบาต เป็นกรรมกิเลส.อทินนาทาน เป็นกรรมกิเลส. กาเมสุมิจฉาจาร เป็นกรรมกิเลส. มุสาวาท เป็นกรรมกิเลส.
กรรมกิเลส ๔ ประการเหล่านี้ เป็นกรรมอันอริยสาวกนั้น ละขาดแล้ว.

อริยสาวก ไม่กระทำกรรมอันเป็นบาปโดยฐานะทั้ง ๔ เป็นอย่างไรเล่า ?
ผู้ถึงซึ่งฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก) ชื่อว่ากระทำกรรมอันเป็นบาป,
ผู้ถึงซึ่งโทสาคติ (ลำเอียงเพราะเกลียด) ชื่อว่ากระทำกรรมอันเป็นบาป,
ผู้ถึงซึ่งโมหาคติ (ลำเอียงเพราะโง่เขลา)ชื่อว่ากระทำกรรมอันเป็นบาป,
ผู้ถึงซึ่งภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)ชื่อว่ากระทำอันเป็นบาป.

คหบดีบุตร !
เมื่อใดอริยสาวกไม่ถึงซึ่งฉันทาคติ
ไม่ถึงซึ่งโทสาคติ ไม่ถึงซึ่งโมหาคติ ไม่ถึงซึ่งภยาคติ;
เมื่อนั้น ชื่อว่า ไม่กระทำกรรมอันเป็นบาปโดยฐานะทั้ง ๔ เหล่านี้, ดังนี้.

อริยสาวก ไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ ทางเป็นอย่างไรเล่า ?
คหบดีบุตร !
การตามประกอบในธรรมเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาทเนื่องด้วยของเมา คือสุราและเมรัยเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ,
การตามประกอบในการเที่ยว ตามตรอกซอกในเวลาวิกาล เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ,

การเที่ยวไปในที่ชุมนุมแห่งความเมา (สมชฺชาภิจรณ) เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ,
การตามประกอบในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือการพนัน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ,

การตามประกอบในบาปมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ,
การตามประกอบในความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ.

คหบดีบุตร !
อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้งหก
โดยเฉพาะแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?
คหบดีบุตร ! พึงทราบว่า ทิศทั้งหกเหล่านี้ มีอยู่

คือพึงทราบว่า มารดาบิดา เป็นปุรัตถิมทิศ (ทิศเบื้องหน้า),
พึงทราบว่า อาจารย์ เป็นทักขิณทิศ (ทิศเบื้องขวา),
พึงทราบว่า บุตรภรรยา เป็นปัจฉิมทิศ (ทิศบื้องหลัง),
พึงทราบว่า มิตรสหาย เป็นอุตตรทิศ (ทิศเบื้องซ้าย),
พึงทราบว่า ทาสกรรมกร เป็นเหฏฐิมทิศ (ทิศเบื้องต่ำ),
พึงทราบว่า สมณพราหมณ์ เป็นอุปริมทิศ (ทิศเบื้องบน).

หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องหน้า
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องหน้าคือมารดาบิดา
อันบุตรพึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ ดังนี้ว่า
ท่านเลี้ยงเราแล้ว เราจักเลี้ยงท่าน ๑
เราจักทำกิจของท่าน ๑
เราจักดำรงวงศ์สกุล ๑
เราจักปฏิบัติตนเป็นทายาท ๑
เมื่อท่านทำกาละล่วงลับไปแล้วเราจักกระทำทักษิณาอุทิศท่าน ๑

คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องหน้าคือมารดาบิดา
อันบุตรพึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการเหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์บุตรโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
ห้ามเสียจากบาป ๑
ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
ให้ศึกษาศิลปะ ๑
ให้มีคู่ครองที่สมควร ๑
มอบมรดกให้ตามเวลา ๑
เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องหน้านั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้น
ปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.

หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องขวา
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องขวา คือ อาจารย์ อันศิษย์พึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
ด้วยการลุกขึ้นยืนรับ ๑
ด้วยการเข้าไปยืนคอยรับใช้ ๑
ด้วยการเชื่อฟังอย่างยิ่ง ๑
ด้วยการปรนนิบัติ ๑
ด้วยการศึกษาศิลปวิทยาโดยเคารพ ๑

คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องขวา คือ อาจารย์ อันศิษย์ปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์โดยฐานะ ๕ ประการ คือ
แนะนำดี ๑
ให้ศึกษาดี ๑
บอกศิลปวิทยาสิ้นเชิง ๑
ทำให้เป็นที่รู้จักในมิตรสหาย ๑
ทำการคุ้มครองให้ในทิศทั้งปวง ๑
เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องขวานั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.

หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องหลัง
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องหลัง คือ ภรรยา อันสามี
พึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
ด้วยการยกย่อง ๑
ด้วยการไม่ดูหมิ่น ๑
ด้วยการไม่ประพฤตินอกใจ ๑
ด้วยการมอบความเป็นใหญ่ในหน้าที่ให้ ๑
ด้วยการให้เครื่องประดับ ๑

คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องหลัง คือ ภรรยา อันสามีปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
จัดแจงการงานดี ๑
สงเคราะห์คนข้างเคียงดี ๑
ไม่ประพฤตินอกใจ ๑
ตามรักษาทรัพย์ที่มีอยู่ ๑
ขยันขันแข็งในการงานทั้งปวง ๑
เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องหลังนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้วเป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.

หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องซ้าย
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตรสหาย
อันกุลบุตรพึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
ด้วยการให้ปัน ๑
ด้วยการพูดจาไพเราะ ๑
ด้วยการประพฤติประโยชน์ ๑
ด้วยการวางตนเสมอกัน ๑
ด้วยการไม่กล่าวคำอันเป็นเครื่องให้แตกกัน ๑

คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตรสหาย
อันกุลบุตรปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
เป็นที่พึ่งแก่มิตรเมื่อมีภัย ๑
ไม่ทอดทิ้งในยามมีอันตราย ๑
นับถือสมาชิกในวงศ์ของมิตร ๑
เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องซ้ายนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.

หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องต่ำ
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องต่ำ คือ ทาสกรรมกร
อันนายพึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
ด้วยให้ทำการงานตามกำลัง ๑
ด้วยการให้อาหารและรางวัล ๑
ด้วยการรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ ๑
ด้วยการแบ่งของมีรสประหลาดให้ ๑
ด้วยการปล่อยให้อิสระตามสมัย ๑

คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องต่ำ คือ ทาสกรรมกร
อันนายปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการเหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์นายโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
เป็นผู้ลุกขึ้นทำงานก่อนนาย ๑
เลิกงานทีหลังนาย ๑
ถือเอาแต่ของที่นายให้ ๑
กระทำการงานให้ดีที่สุด ๑
นำเกียรติคุณของนายไปร่ำลือ ๑
เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องต่ำนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.

หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อทิศเบื้องบน
คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องบน คือ สมณพราหมณ์
อันกุลบุตรพึงปฏิบัติต่อโดยฐานะ ๕ ประการ คือ
ด้วยเมตตากายกรรม ๑
ด้วยเมตตาวจีกรรม ๑
ด้วยเมตตามโนกรรม ๑
ด้วยการไม่ปิดประตู (คือยินดีต้อนรับ) ๑
ด้วยการคอยถวายอามิสทาน ๑

คหบดีบุตร ! ทิศเบื้องบน คือ สมณพราหมณ์
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรโดยฐานะ ๖ ประการ คือ
ห้ามเสียจากบาป ๑
ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
อนุเคราะห์ด้วยใจอันงดงาม ๑
ให้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟัง ๑
ทำสิ่งที่ได้ฟังแล้วให้แจ่มแจ้งถึงที่สุด ๑
บอกทางสวรรค์ให้ ๑
เมื่อเป็นดังนี้ ทิศเบื้องบนนั้น เป็นอันว่ากุลบุตรนั้นปิดกั้นแล้ว เป็นทิศเกษม ไม่มีภัยเกิดขึ้น.

ปา. ที. ๑๑/๑๙๕ - ๒๐๖/๑๗๔ – ๒๐๕.

ไม่อาจที่จะหลุดพ้นไปจากทุกข์

ผลเสียของการปล่อยจิตให้เพลินกับอารมณ์
ภิกษุทั้งหลาย !

ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน รูป
ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์...

ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน เวทนา
ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์...

ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน สัญญา
ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์...

ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน สังขารทั้งหลาย
ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์...

ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน วิญญาณ
ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์

เรากล่าวว่า
“ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้.
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๙/๖๔.

พุทธวจน อินทรีสังวร

อานิสงส์แห่งอานาปานสติ ๗ ประการ

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
ตั้งกายตรง ดำรง
สติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก :

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
ให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่
หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;


ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.


ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว
อยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์ ๗ ประการ

ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้.

ผลอานิสงส์ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
ผลอานิสงส์ ๗ ประการ คือ :-

๑. การบรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบันนี้.
๒. ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมบรรลุอรหัตตผลในกาลแห่งมรณะ.
๓. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง).

๔. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานเมื่อใกล้จะสิ้นอายุ).
๕. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมากนัก).
๖. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก).
๗. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ).

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ผลอานิสงส์ ๗ ประการ
เหล่านี้ ย่อมหวังได้ ดังนี้.

ทุติยผลสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๗/๑๓๑๔ - ๑๓๑๖.

เหตุเกิดของ “กรรม” ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม ๓ อย่าง

ภิกษุ ทั้งหลาย ! เหตุ ๓ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ?

คือ ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ (ความรักใคร่ พอใจ) ที่เป็นอดีต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว
เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจ
ก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว
ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น
ว่าเป็นสังโยชน์ (เครื่อง
ผูก) ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจ
ก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น
ผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐาน
แห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลตรึกตรองถึงธรรม อันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า เมื่อตรึกตรองตามไป
ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว
ก็ชื่อว่าถูก
ธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว
เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็น
สังโยชน์ ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรม
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.


ภิกษุ ทั้งหลาย ! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไป
เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.

ภิกษุ ทั้งหลาย ! (อีกอย่างหนึ่ง) เหตุ ๓ ประการนี้
เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกรรม เหตุ ๓ ประการ
คืออะไรบ้างเล่า ?
คือความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต ๑,
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย

อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีตอย่างไร ?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรม อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอัน
ยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว
คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ความพอใจไม่เกิด
เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่ง

ฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคตเป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรม อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอัน
ยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว
คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ความพอใจ
ไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อัน
เป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบันเป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรม อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า ครั้นรู้ชัดซึ่ง
วิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจ
ได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุ ทั้งหลาย ! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล
เป็นไป
เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
ติก. อํ. ๒๐/๓๓๙/๕๕๒.

ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น

ภิกษุ ทั้งหลาย ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ;
ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น.

ภิกษุ ทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่ง 
เข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,
เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ 
มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย 
มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;

ภิกษุ ทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่ง 
เข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,
เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ 

มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย 
มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ 
ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;

ภิกษุ ทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่ง 
เข้าถือเอาสัญญา
ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, 
เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ 
มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย 
มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ 
ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;ภิกษุ ทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่ง 
เข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, 
เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ 
มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย 
มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ 
ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.

ภิกษุ ทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 
เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป
การจุติ การอุบัติ ความเจริญ
ความงอกงาม 
และความไพบูลย์ของวิญญาณ
โดย เว้น
จากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นสังขาร
ดังนี้นั้น, 
นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุ ทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ
ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ
เป็นสิ่งที่
ภิกษุละได้แล้ว ;

เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง 
ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี.
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม 
หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง ;
เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น 
เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง ;
เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว ;
เมื่อ
ไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน ;

ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว 

กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ขนฺธ. สํ. ๑๗ / ๖๖ / ๑๐๕.

ผู้เข้าไปหาเป็นผู้ไม่หลุดพ้น  ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น

พุทธวจน ตามรอยธรรม

การรู้อริยสัจเป็นของไม่เหลือวิสัย พระอริยบุคคล จึงมีปริมาณมาก

วัจฉะ ! ภิกษุผู้สาวกของเรา บรรลุเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย ได้กระทำให้แจ้งแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เอง ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย
ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่า
มาก โดยแท้.

วัจฉะ ! ภิกษุณีผู้สาวิกาของเรา บรรลุเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย ได้กระทำให้แจ้งแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่
สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก
โดยแท้.

วัจฉะ ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็น
คฤหัสถ์นุ่งขาว อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์,
เป็น โอปปาติกสัตว์ (พระอนาคามี) มีปกติปรินิพพาน
ในภพที่ไปเกิดนั้น ไม่เวียนกลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา,
เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์มีส่วนในเบื้องต่ำห้าอย่าง
ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก
โดยแท้.

วัจฉะ ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็น
คฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ ทำตามคำสอน
เป็นผู้ สนองโอวาท มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว ไม่ต้อง
กล่าวด้วยความสงสัยว่า นี่อะไร ๆ เป็นผู้ปราศจากความ
ครั่นคร้าม ไม่ใช่ผู้ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น อยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในศาสนาของพระศาสดา ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว
ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

วัจฉะ ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็น
หญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์
เป็น โอปปาติกสัตว์ (พระอนาคามี) มีปกติปรินิพพานใน
ภพที่ไปเกิดนั้น ไม่เวียนกลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา,
เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์ มีส่วนในเบื้องต่ำห้าอย่าง
ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่โดยมาก
กว่ามากเป็นแท้.

วัจฉะ ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็น
หญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ ทำตามคำสอน
เป็นผู้ สนองโอวาท มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว ไม่ต้อง
กล่าวด้วยความสงสัยว่านี่อะไร ๆ เป็นผู้ปราศจากความ
ครั่นคร้าม ไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น อยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในศาสนาของพระศาสดา ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว
ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่โดยมากกว่ามากเป็นแท้.

ม. ม. ๑๓/๒๕๑ - ๒๕๓/๒๕๕- ๒๕๖.

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง


ภิกษุ ทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง (อนิจฺจ).
ภิกษุ ทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน (อธว).
ภิกษุ ทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่หวังอะไรไม่ได้ (อนสฺสาสิก).
ภิกษุ ทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.

ภิกษุ ทั้งหลาย ! ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐โยชน์ ๑ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นจากผิวพื้นสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ :-
ภิกษุ ทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่งล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี
หลายพันปี หลายแสนปี ที่ฝนไม่ตกเลย. เมื่อฝนไม่ตก
(ตลอดเวลาเท่านี้) ป่าใหญ่ ๆ อันประกอบด้วยพีชคาม
ภูตคาม ไม้ หยูกยาและหญ้าทั้งหลาย ย่อมเฉา ย่อมเหี่ยวแห้ง
มีอยู่ไม่ได้ (นี้ฉันใด) ;
ภิกษุ ทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงฉันนั้น, สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืน ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย
เป็นสิ่งที่หวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้
ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะ
คลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.
ภิกษุ ทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราวโดย
การล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่สอง ย่อมปรากฏ.
เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่สองปรากฏ, แม่น้ำน้อย หนองบึง
ทั้งหมดก็งวดแห้งไป ไม่มีอยู่ (นี้ฉันใด) ; ภิกษุ ทั้งหลาย ! สังขาร
ทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น,
สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ทั้งหลาย !
เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง
พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.

ภิกษุ ทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราวโดย
การล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่สาม ย่อมปรากฏ.
เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่สามปรากฏ, แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่น
แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิ ทั้งหมดก็งวดแห้งไป
ไม่มีอยู่ (นี้ฉันใด); ภิกษุ ทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง
ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน ฉันนั้น, สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้
ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้ว
เพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.

ภิกษุ ทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราวโดย
การล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่สี่ ย่อมปรากฏ.
เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่สี่ปรากฏ, มหาสระทั้งหลาย อันเป็น
ที่เกิดแห่งแม่น้ำใหญ่ ๆ เช่นแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู
มหิ มหาสระเหล่านั้นทั้งหมดก็งวดแห้งไป ไม่มีอยู่ (นี้ฉันใด);
ภิกษุ ทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย
ไม่ยั่งยืน ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้
ฉันนั้น. ภิกษุ ทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายใน
สังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะ
ปล่อยวาง.

ภิกษุ ทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราวโดย
การล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่ห้า ย่อมปรากฏ.
เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ห้าปรากฏ, น้ำในมหาสมุทรอันลึกร้อยโยชน์ ก็งวดลง น้ำในมหาสมุทรอันลึก สอง - สาม - สี่ - ห้า -
หก - เจ็ดร้อยโยชน์ก็งวดลง เหลืออยู่เพียงเจ็ดชั่วต้นตาล ก็มีเหลืออยู่เพียงหก - ห้า - สี่ - สาม -สอง กระทั่งหนึ่งชั่วต้นตาล
ก็มี งวดลงเหลืออยู่เพียงเจ็ดชั่วบุรุษ ก็มี เหลืออยู่เพียงหก -
ห้า - สี่ - สาม – สอง-หนึ่ง กระทั่งครึ่งชั่วบุรุษ ก็มี งวดลง
เหลืออยู่เพียงแค่สะเอว เพียงแค่เข่า เพียงแค่ข้อเท้า กระทั่ง
เหลืออยู่ ลึกเท่าน้ำในรอยเท้าโค ในที่นั้น ๆ เช่นเดียวกับน้ำ
ในรอยเท้าโคเมื่อฝนเม็ดใหญ่เริ่มตกในฤดูสารทลงมา
ในที่นั้น ๆ.
ภิกษุ ทั้งหลาย ! เพราะการปรากฏแห่งอาทิตย์ดวงที่ห้า
น้ำในมหาสมุทรไม่มีอยู่แม้สักว่าองคุลีเดียว(นี้ฉันใด);
ภิกษุ ทั้งหลาย !สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน
ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง
พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.

ภิกษุ ทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราวโดย
การล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่หก ย่อมปรากฏ.
เพราะความปรากฏแห่งอาทิตย์ดวงที่หก, มหาปฐพีนี้และ
ขุนเขาสิเนรุ ก็มีควันขึ้น ยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น เปรียบเหมือน
เตาเผาหม้อ อันนายช่างหม้อสุมไฟแล้ว ย่อมมีควันขึ้นโขมงยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น ฉะนั้น (นี้ฉันใด); ภิกษุ ทั้งหลาย ! สังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยง ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน ฉันนั้น, สังขาร
ทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ทั้งหลาย ! เพียง
เท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้ว
เพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.

ภิกษุ ทั้งหลาย ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราวโดย
การล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่เจ็ด ย่อมปรากฏ.
เพราะความปรากฏแห่งอาทิตย์ดวงที่เจ็ด, มหาปฐพีนี้และ
ขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีไฟลุกโพลง ๆ มีเปลวเป็นอันเดียวกัน.
เมื่อมหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ อันไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่อย่างนี้
เปลวไฟถูกลมซัดขึ้นไป จนถึงพรหมโลก. ภิกษุ ทั้งหลาย ! เมื่อ
ขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่ วินาศอยู่ อันกองไฟ
ท่วมทับแล้ว, ยอดทั้งหลายอันสูงร้อยโยชน์บ้าง สอง - สาม -
สี่ - ห้าร้อยโยชน์บ้าง ก็พังทำลายไป. ภิกษุ ทั้งหลาย ! เมื่อ
มหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุอันไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่, ขี้เถ้าและ
เขม่าย่อมไม่ปรากฏ เหมือนเมื่อเนยใส หรือน้ำมันถูกเผา
ขี้เถ้าและเขม่าย่อมไม่ปรากฏ ฉะนั้น(นี้ฉันใด); ภิกษุ ทั้งหลาย !
สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขาร
ทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.
ภิกษุ ทั้งหลาย ! ในข้อความนั้น ใครจะคิด ใครจะเชื่อ
ว่า “ปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุจักลุกไหม้ จักวินาศ จักสูญสิ้น
ไปได้” นอกเสียจาก พวกมีบทอันเห็นแล้ว.

กฎธรรมชาติ


อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ;
เมื่อสิ่งนี้ “มี” สิ่งนี้ ย่อมมี

อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ;
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ;
เมื่อสิ่งนี้ “ไม่มี” สิ่งนี้ ย่อมไม่มี

อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ.
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป


นิทาน. สํ. ๑๖/๘๔/๑๕๔.

กฎธรรมชาติ, อิทัปปัจยตา, ปฏิจจสมุปบาท,

กฎธรรมชาติ, อิทัปปัจยตา, ปฏิจจสมุปบาท,

กฎธรรมชาติ, อิทัปปัจยตา, ปฏิจจสมุปบาท,

กฎธรรมชาติ, อิทัปปัจยตา, ปฏิจจสมุปบาท,

กฎธรรมชาติ, อิทัปปัจยตา, ปฏิจจสมุปบาท,