วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เมื่อมีความพอใจ ย่อมมีตัณหา

ภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนไฟกองใหญ่ พึงลุกโพลงด้วยไม้สิบเล่มเกวียนบ้าง
ยี่สิบเล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง.
บุรุษพึงเติมหญ้าแห้งบ้าง มูลโคแห้งบ้าง ไม้แห้งบ้าง
ลงไปในกองไฟนั้น ตลอดเวลาที่ควรเติม อยู่เป็นระยะ ๆ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยอาการ อย่างนี้แล ไฟกองใหญ่
ซึ่งมี เครื่องหล่อเลี้ยง อย่างนั้น
มี เชื้อเพลิง อย่างนั้น
ก็จะพึงลุกโพลง ตลอดกาลยาวนาน
ข้อนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุเป็นผู้
มีปกติ เห็นโดยความเป็นอัสสาทะ (น่ารักน่ายินดี)
ใน อุปาทานิยธรรม (ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน) อยู่
ตัณหาย่อมเจริญ อย่างทั่วถึงเพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๒/๑๙๖-๑๙๗.

ตัณหา คือ “เชื้อแห่งการเกิด”

วัจฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น
สำหรับสัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทานอยู่ (สอุปาทานสฺส)
ไม่ใช่สำหรับสัตว์ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน
วัจฉะ ! เปรียบเหมือน ไฟที่มีเชื้อ ย่อมโพลงขึ้นได้ (อคฺคิ สอุปาทาโน ชลติ)
ที่ไม่มีเชื้อ ก็โพลงขึ้นไม่ได้
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น
วัจฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น
สำหรับสัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทานอยู่
ไม่ใช่สำหรับสัตว์ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน
“พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล,
สมัยนั้น พระโคดมย่อมบัญญัติซึ่งอะไรว่าเป็นเชื้อแก่เปลวไฟนั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่ ?”
วัจฉะ ! สมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล
เราย่อมบัญญัติเปลวไฟนั้น ว่า มีลมนั่นแหละเป็นเชื้อ
วัจฉะ ! เพราะว่า สมัยนั้น ลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น.
“พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น,
สมัยนั้นพระโคดม ย่อมบัญญัติ ซึ่งอะไร ว่าเป็นเชื้อแก่สัตว์นั้น ถ้าถือว่า มันยังมีเชื้ออยู่ ?”
วัจฉะ ! สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น
เรากล่าว สัตว์นี้ ว่า มีตัณหานั่นแหละเป็นเชื้อ
เพราะว่า สมัยนั้น ตัณหาย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น แล.
สฬา. สํ. ๑๘/๔๘๕/๘๐๐.

ฆราวาสชั้นเลิศ

คหบดี ! ในบรรดากามโภคีเหล่านั้น กามโภคีผู้ใด
แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดด้วย,
ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดแล้ว
ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำด้วย, แบ่งปันโภคทรัพย์
บำเพ็ญบุญด้วย, ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติ
เห็นโทษ มีปัญญา เป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์
เหล่านั้นอยู่ด้วย;
คหบดี ! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะ
ทั้งสี่ คือ :-
ควรสรรเสริญโดยฐานะที่หนึ่ง ในข้อที่เขา
แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด,
ควรสรรเสริญโดยฐานะที่สอง ในข้อที่เขา
ทำตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ,
ควรสรรเสริญโดยฐานะที่สาม ในข้อที่เขา
แบ่งปันโภคทรัพย์ บำเพ็ญบุญ,
ควรสรรเสริญโดยฐานะที่สี่ ในข้อที่เขา
ไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็น
เครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้น.
คหบดี ! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดยฐานะ
ทั้งสี่เหล่านี้.
คหบดี ! กามโภคีจำพวกนี้ เป็นกามโภคีชั้นเลิศ
ชั้นประเสริฐ ชั้นหัวหน้า ชั้นสูงสุด ชั้นบวรกว่ากามโภคี
ทั้งหลาย, เปรียบเสมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจาก
นมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น
หัวเนยใสเกิดจากเนยใส; หัวเนยใสปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดา
รสอันเกิดจากโคทั้งหลาย เหล่านั้น, ข้อนี้ฉันใด; กามโภคี
จำพวกนี้ ก็ปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดากามโภคีทั้งหลาย
เหล่านั้น ฉันนั้น แล.
ทสก. อํ. ๒๔/๑๙๔/๙๑.

แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด

แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด

ความสำคัญของสมถะและวิปัสสนา

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ เป็นส่วนแห่ง
วิชชา (ความรู้แจ้ง) . ๒ อย่าง อะไรเล่า ?
๒ อย่าง คือ สมถะ และ วิปัสสนา
ภิกษุ ทั้งหลาย. !
สมถะ เมื่ออบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?
อบรมแล้ว จิตจะเจริญ
จิตเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?
เจริญแล้ว จะ ละราคะได้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. !
วิปัสสนาเล่า เมื่อเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?
เจริญแล้ว ปัญญาจะเจริญ
ปัญญา เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?
เจริญแล้วจะ ละอวิชชาได้ แล.
ทุก. อํ. ๒๐/๗๗/๒๗๕.

ความสำคัญของสมถะและวิปัสสนา ละราคะ ละอวิชชา

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ลำดับการปฏิบัติเพื่อรู้ตามซึ่งสัจจธรรม

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราย่อมไม่กล่าวการประสบความ
พอใจในอรหัตตผล ด้วยการกระทำอันดับแรกเพียง
อันดับเดียว. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ก็แต่ว่า การประสบความพอใจในอรหัตตผล
ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ เพราะการปฏิบัติโดยลำดับ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ก็การประสบความพอใจในอรหัตตผล
ย่อมมีได้เพราะการศึกษาโดยลำดับ เพราะการกระทำโดยลำดับ
เพราะการปฏิบัติโดยลำดับนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุรุษบุคคลในกรณีนี้ :
เป็นผู้มีสัทธา เกิดขึ้นแล้ว ย่อม เข้าไปหาผู้ถึงอริยสัจ(สัปบุรุษ);
เมื่อเข้าไปหา ย่อม เข้าไปนั่งใกล้;
เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ ย่อม เงี่ยโสตลงสดับ;
ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ย่อม ได้ฟังธรรม;
ครั้นฟังแล้ว ย่อม ทรงจำธรรมไว้,
ย่อม ใคร่ครวญพิจารณาซึ่งเนื้อความ

แห่งธรรม ทั้งหลายที่ตนทรงจำไว้;
เมื่อเขาใคร่ครวญพิจารณา ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นอยู่,
ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์;
เมื่อธรรมทนต่อการเพ่งพิสูจน์มีอยู่
ฉันทะ (ความพอใจ) ย่อมเกิด;
ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อม มีอุตสาหะ;
ครั้นมีอุตสาหะแล้ว
ย่อม พิจารณาหาความสมดุลแห่งธรรม
ครั้นพิจารณาหาความสมดุลแห่งธรรมแล้ว ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรม นั้น;
ผู้มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่
ย่อม กระทำให้แจ้ง ซึ่งบรมสัจจ์ด้วยนามกาย ด้วย,
ย่อม เห็นแจ้งแทงตลอด ซึ่งบรมสัจจ์นั้นด้วยปัญญา ด้วย.
ม. ม. ๑๓/๒๓๓/๒๓๘.


วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อาสีวิสสูตร

[๓๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้ง
หลาย เหมือนอย่างว่า มีอสรพิษ ๔ จำพวก ซึ่งมีฤทธิ์เดชแรงกล้า ถ้ามีบุรุษรักชีวิต ผู้ไม่
อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน อสรพิษ ๔ จำพวก
นี้ มีฤทธิ์เดชแรงกล้า ท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลา ให้อาบน้ำตามเวลา ให้กินอาหารตามเวลา
ให้เข้าสู่ที่อยู่ตามเวลา เวลาใดอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนี้ ตัวใดตัวหนึ่งโกรธขึ้น เวลานั้นท่านก็
จะพึงถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบปางตาย กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ

[๓๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนั้น จึงหนีไป
ในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีเพชฌฆาตผู้เป็นฆ่าศึกอยู่ ๕ คน ได้ติด
ตามมาข้างหลังท่าน พบท่านในที่ใด ก็จะฆ่าท่านเสียในที่นั้น กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจ
นั้นเสีย ฯ

[๓๑๑] ครั้งนั้นแล บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวก และกลัวเพชฌฆาตผู้เป็นฆ่า
ศึกทั้ง ๕ คนนั้น จึงหนีไปในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูกรท่าน มีเพชฌฆาต
คนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบติดตามมาข้างหลังท่าน พบท่านในที่ใด ก็จะตัดศีรษะของ
ท่านเสียในที่นั้น กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย ฯ

[๓๑๒] ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกซึ่งมีฤทธิ์เดชแรงกล้า กลัว
เพชฌฆาตผู้เป็นฆ่าศึกทั้ง ๕ และกลัวเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศเงื้อดาบอยู่ จึงหนี
ไปในที่อื่น เขาพบบ้านร้างเข้า จึงเข้าไปสู่เรือนร้างว่างเปล่าหลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่า
ชนิดหนึ่ง ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่าดูกรท่าน มีโจรทั้งหลายคอยฆ่าชาวบ้าน เข้ามา
สู่บ้านร้างนี้เสมอ กิจใดที่ท่านควรทำก็จงทำกิจนั้นเสีย


[๓๑๓] ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ กลัวเพชฌฆาตทั้ง ๕ กลัวเพชฌฆาตคน
ที่ ๖ และกลัวโจรผู้คอยฆ่าชาวบ้าน จึงหนีไปในที่อื่น เขาไปพบห้วงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ฝั่งข้าง
นี้น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัย เรือแพ หรือสะพานที่
จะข้ามไปฝั่งโน้นไม่มี ฯ

[๓๑๔] ครั้งนั้น บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่นัก ฝั่งข้างนี้เป็นที่น่า
รังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัยเรือแพ หรือสะพานที่จะข้าม
ไปฝั่งโน้นก็ไม่มี ผิฉะนั้น เราควรจะมัดหญ้ากิ่งไม้และใบไม้ ผูกเป็นแพ เกาะแพนั้น พยายาม
ไปด้วยมือและด้วยเท้า ก็พึงถึงฝั่งโน้นได้โดยความสวัสดี ครั้นแล้ว บุรุษนั้นทำตามความคิด
ของตน ก็ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งข้างโน้นแล้ว เป็นพราหมณ์ขึ้นบกไป ฯ

[๓๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ เราสมมติขึ้นเพื่อจะให้รู้เนื้อความโดยง่าย ใน
ข้อนั้นมีเนื้อความดังนี้ คำว่า อสรพิษที่มีฤทธิ์แรงกล้าทั้ง ๔ จำพวกนั้น เป็นชื่อแห่งมหาภูตรูป
๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คำว่าเพชฌฆาตทั้ง ๕ คนที่เป็นข้าศึกนั้น เป็นชื่อ
แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ คำว่า
เพชฌฆาตคนที่ ๖ซึ่งเที่ยวไปในอากาศเงื้อดาบอยู่นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่า บ้านร้างนั้น
เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖ ฯ

[๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖
นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของว่าง เปล่า สูญทั้งนั้น ฯ
คำว่า โจรผู้ฆ่าชาวบ้านนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ ตาย่อมเดือดร้อนเพราะ
รูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อม
เดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ
กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์
เป็น ที่พอใจและไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตรายนั้น เป็นชื่อ
แห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้นเป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า
แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า
พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่งวิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึง
ฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อแห่งพระอรหันต์ ฯ

กายนี้ เป็น “กรรมเก่า”

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้ง
ไม่ใช่ของบุคคล เหล่าอื่น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย
พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต), เป็นสิ่งที่
ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต), เป็นสิ่งที่มี
ความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้
สดับแล้ว ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่ง
ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้ :
เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี ;
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้,สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ;
เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี ;
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ , สิ่งนี้จึงดับไป :
ข้อนี้ได้แกสิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
อวิชชานั้น นั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร, เพราะมี
ความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ; .....
ฯลฯ ..... ฯลฯ ..... ฯลฯ ..... เพราะมีความดับแห่งชาติ
นั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ แล.
นิทาน.สํ. ๑๖/๗๗/๑๔๓.

อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย ทั้ง
ใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธ-
คามินีปฏิปทา. .....
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! จักษุ (ตา) .... โสตะ (หู) .... ฆานะ
(จมูก) .... ชิวหา (ลิ้น) .... กายะ (กาย) ..... มนะ (ใจ) อันเธอ
ทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า) อภิสังขตะ
(อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัยทำให้เกิด
ความรู้สึกขึ้น) เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด, อันนี้เรียกว่า
กรรมใหม่
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม) เป็น
อย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะ
ความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด, อันนี้
เรียกว่า กัมมนิโรธ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค
(อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ความ
เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา
(การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความ
พากเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ
(ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า) กรรมเก่า
เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย กรรมใหม่ เราก็แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา
เราก็ได้แสดงแล้ว.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวก
ทั้งหลาย, กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นั่นโคนไม้, นั่นเรือนว่าง. พวกเธอ
จงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ
ในภายหลังเลย.
นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗ - ๒๓๑.

สักแต่ว่า... (นัยที่ ๒)

“ข้าแต่พระองค์เจริญ ! ข้าพระองค์เป็นคนชรา เป็นคน
แก่คนเฒ่ามานานผ่านวัยมาตามลำดับ. ขอพระผู้มีพระภาคทรง
แสดงธรรมโดยย่อ ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมโดยย่อ ใน
ลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทวั่ ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึงเป็นทายาทแห่งภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด พระเจ้าข้า !”
มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่า
อย่างไร คือ รูปทั้งหลาย อันรู้สึกกันได้ทางตา เป็นรูป
ที่ท่านไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็น ที่ท่านกำลังเห็นอยู่ก็ไม่มี
ที่ท่านคิดว่าท่านควรจะได้เห็นก็ไม่มี ดังนี้แล้ว ความ
พอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักก็ดี ในรูปเหล่านั้น
ย่อมมีแก่ท่านหรือ ?
“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
(ต่อไปนี้ ได้มีการตรัสถาม และการทูลตอบในทำนอง
เดียวกันนี้ทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อของสิ่งที่นำมากล่าว คือในกรณีแห่ง
เสียงอันรู้สึกกันได้ทางหู ในกรณีแห่ง กลิ่นอันรู้สึกกันได้ทางจมูก ใน
กรณีแห่ง รสอันรู้สึกกันได้ทางลิ้น ในกรณีแห่ง โผฏฐัพพะอันรู้สึกเป็นแต่เพียงสักว่า
ได้ยิน ;
ใน สิ่งที่ท่านรู้สึกแล้ว (ทางจมูก, ลิ้น, กาย)
จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก ;
ใน สิ่งที่ท่านรู้แจ้งแล้ว (ทางวิญญาณ) ก็จัก
เป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง.
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดแล ในบรรดาธรรม
เหล่านั้น : เมื่อ สิ่งที่เห็นแล้วสักว่าเห็น, สิ่งที่ฟังแล้ว
สักว่าได้ยิน, สิ่งที่รู้สึกแล้วสักว่ารู้สึก, สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว
สักว่ารู้แจ้ง, ดังนี้แล้ว ;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อนั้น ตัวท่านย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีเพราะ
เหตุนั้น, เมื่อนั้น ตัวท่านก็ไม่มีในที่นั้น ๆ ;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีในที่นั้น ๆ,
เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น
ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง :
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งความทุกข์ ดังนี้.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความ
แห่งภาษิตอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดาร
ดังต่อไปนี้ :-
เห็นรูปแล้วสติหลงลืม ทำในใจซึ่งรูปนิมิตว่า
น่ารัก มีจิตกำหนัดแก่กล้าแล้ว เสวยอารมณ์นั้นอยู่
ความสยบมัวเมาย่อมครอบงำบุคคลนั้น. เวทนาอันเกิด
จากรูปเป็นอเนกประการ ย่อมเจริญแก่เขานั้น. อภิชฌา
และวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา. เมื่อสะสม
ทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า ยังไกลจากนิพพาน.
(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้
อย่างเดียวกัน).
บุคคลนั้นไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย เห็นรูป
แล้ว มีสติเฉพาะ มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์อยู่ ความ
สยบมัวเมาย่อมไม่ครอบงำบุคคลนั้น. เมื่อเขาเห็นอยู่
ซึ่งรูปตามที่เป็นจริง เสวยเวทนาอยู่ทุกข์ก็สิ้นไป ๆ ไม่
เพิ่มพูนขึ้น เขามีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้,
เมื่อไม่สะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้ต่อ
นิพพาน.
(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้
อย่างเดียวกัน).
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความ
แห่งภาษิตอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดาร
อย่างนี้ พระเจ้าข้า !”
พระผู้มีพระภาค ทรงรับรองความข้อนั้น ว่า
เป็นการถูกต้อง. ท่านมาลุงก๎ยบุตรหลีกออกสู่ที่สงัด
กระทำความเพียรได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในศาสนานี้.
สฬา.สํ. ๑๘ / ๙๑-๙๕ / ๑๓๒-๑๓๙.

พุทธวจน มาลุงกยบุตร สักแต่ว่า

สักแต่ว่า... (นัยที่ ๑)

พาหิยะ ! เมื่อใดเธอ
เห็น รูป แล้ว สักว่าเห็น,
ได้ฟังเสียง แล้ว สักว่าฟัง,
ได้กลิ่น, ลิ้มรส, สัมผัสทางผิวกาย, ก็สักว่า
ดม ลิ้ม สัมผัส,
ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้งแล้ว ;
เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี.
เมื่อใด “เธอ” ไม่มี ;
เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้,
ไม่ปรากฏในโลกอื่น,
ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง :
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.
อุ. ขุ. ๒๕ / ๘๓ / ๔๙.

เหตุแห่งการเบียดเบียน

“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! อะไรเป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์
อสูร นาค คนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่) ปรารถนาอยู่ว่า
เราจักเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีการเบียดเบียนแก่กัน
และกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถจักเป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มี
ข้าศึก ไม่มีเบียดเบียนแก่กันและกันเล่า พระเจ้าข้า ? ”
จอมเทพ ! ความอิจฉา (อิสสา) และความตระหนี่
(มัจฉริยะ) นั่นแล เป็นเครื่องผูกพันเทวดา
มนุษย์ อสูร นาค
คนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่) ปรารถนา
อยู่ว่า เราจักเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มี
การเบียดเบียนแก่กันและกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถจักเป็น
ผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีเบียดเบียน
แก่กันและกันได้.
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็ความอิจฉาและความตระหนี่นั้น
มีอะไรเป็นต้นเหตุ (นิทาน) มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น (สมุทัย) มีอะไรเป็น
เครื่องทำให้เกิด (ชาติกะ) มีอะไรเป็นแดนเกิด (ปภวะ) ? เมื่ออะไรมีอยู่ ความ
อิจฉาและความตระหนี่จึงมี ? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่
จึงไม่มี พระเจ้าข้า ? ”
จอมเทพ ! ความอิจฉา และความตระหนี่ นั้น
มีสิ่งอันเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก
(ปิยาปฺปิย) นั่นแล
เป็นต้นเหตุ... เมื่อสิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักไม่มีอยู่
ความอิจฉาและความตระหนี่ก็ไม่มี.
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รัก
นั้นเล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ...ฯลฯ... ? เมื่ออะไรมีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและ
สิ่งไม่เป็นที่รักจึงมี ? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักจึงไม่มี
พระเจ้าข้า ? ”
จอมเทพ ! สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้น
มีฉันทะ (ความพอใจ ) เป็นต้นเหตุ
...ฯลฯ... เมื่อฉันทะ ไม่มีอยู่
สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักก็ไม่มี...
มหา. ที. ๑๐/๓๑๐/๒๕๕.

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การตอบแทนคุณมารดาบิดาอย่างสูงสุด

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่าย
แก่ท่านทั้งสอง. ท่านทั้งสอง คือใคร ?
คือ มารดา ๑ บิดา ๑
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วย
บ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามี
อายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสองนั้น
ด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และ
ท่านทั้งสองนั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขา
นั่นแหละ. ภิกษุ ท.! การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่า
อันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาใน
ราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ
๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่า
อันบุตรทำแล้ว หรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดง
โลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย
ส่วนบุตรคนใด
ยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา
ให้
สมาทานตั้งมั่นในสัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล
ให้สมาทานตั้งมั่นในสีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่
ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)
ยังมารดาบิดาทรามปัญญา
ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำ
อย่างนั้นย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว และทำตอบแทนแล้ว
แก่มารดาบิดา.


-บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๗๘/๒๗๘.


พุทธวจน ฆราวาสชั้นเลิศ

พุทธวจน ฆราวาสชั้นเลิศ

พระโสดาบัน รู้จักอินทรีย์หก

ภิกษุทั้งหลาย. ! อินทรีย์ ๖ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.
๖ อย่างอะไรเล่า ? ๖ อย่างคือ
จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์
ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์
กายินทรีย์ มนินทรีย์

ภิกษุทั้งหลาย. ! เมื่อใดแล อริยสาวก
มารู้จักความก่อขึ้นแห่งอินทรีย์หกเหล่านี้,
รู้จักความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งอินทรีย์หกเหล่านี้,
รู้จักรสอร่อยของอินทรีย์ทั้งหกเหล่านี้
รู้จักโทษอันร้ายกาจของอินทรียทั้งหกเหล่านี้
ทั้งรู้จักอุบายที่ไปให้พ้นอินทรีย์ทั้งหกเหล่านี้, ตามที่ถูก ที่จริง;
ภิกษุทั้งหลาย. ! เมื่อนั้นแหละ อริยสาวกนั้น เราเรียกว่า
เป็น พระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้
ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๑/๙๐๒-๙๐๓.

________________
๑. อินทรีย์ แปลว่า อำนาจหรือความเป็นใหญ่; เมื่อรวมกับคำว่า ตา (จักขุนทรีย์)
ก็จะหมายถึง ความเป็นใหญ่ในเรื่องการมองเห็น หรือ ก็คือความเป็นใหญ่ใน
หน้าที่นั้น ๆ (เช่นการได้ยิน, การได้กลิ่น, ...)

พุทธวจน คู่มือโสดาบัน

พระโสดาบัน รู้จักปัญจุปาทานขันธ์

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เมื่อใดแล สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้
มารู้จักความก่อขึ้นแห่งอุปาทานขันธ์ห้า,
รู้จักความตั้งอยู่ไม่ได้ของอุปาทานขันธ์ห้า,
รู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ห้า,
รู้จักโทษอันร้ายกาจของอุปาทานขันธ์ห้า,
และรู้จักอุบายที่ไปให้พ้นอุปาทานขันธ์ห้านี้เสียตามที่
ถูกที่จริง;
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เมื่อนั้นแหละ สาวกของพระอริยเจ้า
ผู้นั้น เราเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๖/๒๙๖.

พระโสดาบัน  รู้จักปัญจุปาทานขันธ์

หลักเกณฑ์พยากรณ์ภาวะโสดาบันของตนเอง

คหบดี ! ในกาลใด ภัยเวร ๕ ประการ
อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว ด้วย, อริยสาวกประกอบ
พร้อมแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะสี่ ด้วย, อริยญายธรรม
เป็นธรรมที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี
ด้วยปัญญา ด้วย;
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่ก็พยากรณ์
ตนด้วยตน นั่นแหละว่า
“เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว
มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว, เราเป็น
ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน) มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า”
ดังนี้.
คหบดี ! ภัยเวร ๕ ประการ เหล่าไหนเล่า
อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว ?
(๑) คหบดี ! บุคคลผู้ฆ่าสัตว์อยู่เป็นปกติ
ย่อมประสบภัยเวรใดในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) บ้าง, ย่อม
ประสบภัยเวรใดในสัมปรายิก (ในเวลาถัดต่อมา) บ ้าง,
ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะปาณาติบาต
เป็นปัจจัย; ภัยเวรนั้น ๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้ว
จากปาณาติบาต ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
(๒) คหบดี ! บุคคลผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้
ให้อยู่เป็นปกติ ย่อมประสบภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง,
ย่อมประสบภัยเวรใดในสัมปรายิกบ ้าง, ย่อมเสวยทุกขโทมนัส
แห่งจิตบ้าง เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย; ภัยเวรนั้น ๆ
เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจากอทินนาทาน ทำให้สงบ
รำงับได้แล้ว.
(๓) คหบดี ! บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม
ทั้งหลายอยู่เป็นปกติ ย่อมประสบภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง,
ย่อมประสบภัยเวรใดในสัมปรายิกบ ้าง, ย่อมเสวย
ทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง, เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย;
ภัยเวรนั้น ๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้วจาก
กาเมสุมิจฉาจาร ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
(๔) คหบดี ! บุคคลผู้กล่าวคำเท็จอยู่เป็นปกติ
ย่อมประสบภัยเวรใดในทิฏฐธรรมบ้าง, ย่อมประสบภัยเวรใด
ในสัมปรายิกบ ้าง, ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง เพราะ
มุสาวาทเป็นปัจจัย; ภัยเวรนั้น ๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาด
แล้วจากมุสาวาท ทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
(๕) คหบดี ! บุคคลผู้ดื่มสุราและเมรัยอันเป็น
ที่ตั้งของความประมาทอยู่เป็นปกติ ย่อมประสบภัยเวรใด
ในทิฏฐธรรมบ้าง, ย่อมประสบภัยเวรใดในสัมปรายิกบ้าง,
ย่อมเสวยทุกขโทมนัสแห่งจิตบ้าง, เพราะสุราและเมรัย
เป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น ๆ เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้เว้นขาดแล้ว
จากสุราและเมรัยทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
คหบดี ! ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้แล
อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว.
… … … …
คหบดี ! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วย องค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการ เหล่าไหนเล่า ?
(๑) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า
ว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้
โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ไปแล้วดว้ ยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถ
ฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.
(๒) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
ไม่หวั่นไหว ในพระธรรม
ว่า “พระธรรม เป็นสิ่งที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและ
ปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และ
ให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า
ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่
ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน” ดังนี้.
(๓) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
ว่า “ สงฆ์สาวกของพระผู้มี
พระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้
ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่
นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์
ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี
เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า” ดังนี้.
(๔) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายในลักษณะเป็นที่
พอใจของพระอริยเจ้า
: เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา วิญญูชนสรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิลูบคลำ เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อ
สมาธิ ดังนี้.
คหบดี ! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการ เหล่านี้แล.
… … … …
คหบดี ! ก็ อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวก
เห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดีด้วยปัญญา เป็น
อย่างไรเล่า ?
คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำไว้
ในใจโดยแยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว
ดังนี้ว่า “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี; เพราะความเกิดขึ้น
แห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี;
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป : ข้อนี้ได้แก่
สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ; ...ฯลฯ... ...
ฯลฯ... ...ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้น
ครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี
ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชา
นั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร; เพราะมีความดับ
แห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ...ฯลฯ... ฯลฯ...
ฯลฯ... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”.
คหบดี ! อริยญายธรรม๑ นี้แล เป็นธรรมที่
อริยสาวกนั้นเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดีด้วยปัญญา.
คหบดี ! ในกาลใดแล ภัยเวร ๕ ประการ
เหล่านี้ เป็นสิ่งที่อริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้วด้วย,
อริยสาวกเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ
สี่เหล่านี้ ด้วย, อริยญายธรรมนี้ เป็นธรรมอันอริยสาวก
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นปรารถนาอยู่ ก็พยากรณ์ตน
เห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญาด้วย;
ด้วยตนนั้นแหละว่า “เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิด
เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติวินิบาต
สิ้นแล้ว, เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน) มีความ
ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้
พร้อมเป็นเบื้องหน้า” ดังนี้.

หมายเหตุผู้รวบรวม : ยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่งข้อความอย่างเดียวกัน
กับสูตรนี้ ผิดกันแต่เพียงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย แทนที่จะตรัสกับ
อนาถบิณฑิกคหบดี, คือสูตรที่ ๒ แห่งคหปติวรรค อภิสมยสังยุตต์
นิทาน .สํ.๑๖/๘๕/๑๕๖; และยังมีสูตรอีกสูตรหนึ่ง (เวรสูตรที่ ๒
อุปาสกวรรค ทสก. อํ. ๒๔/๑๙๕/๙๒) มีเค้าโครงและใจความของสูตร
เหมือนกันกับสูตรข้างบนนี้ ต่างกันแต่เพียง ในสูตรนั้นมีคำว่า
“ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์” แทนคำว่า “ย่อมกระทำไว้ในใจ
โดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว” แห่งสูตร
ข้างบนนี้ เท่านั้น
ทสก. อํ. ๒๔/๑๙๕/๙๒.

พุทธวจน โสดาบัน เลื่อมใสในพระสงฆ์

พุทธวจน โสดาบัน เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า

พุทธวจน โสดาบัน เลื่อมใสในพระธรรม

โสตาปัตติยังคะ

อริญายธรรม

พระโสดาบันประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปด

สารีบุตร ! ที่มักกล่าวกันว่า โสดาบัน-โสดาบัน
ดังนี้ เป็นอย่างไรเล่า สารีบุตร ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ท่านผู้ใด เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ผู้เช่นนั้นแล ข้าพระองค์เรียกว่าเป็น
พระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ มีโคตรอย่างนี้ ๆ พระเจ้าข้า !”
สารีบุตร ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ถึงเราเองก็เรียกผู้เช่นนั้น
ว่าเป็น พระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ มีโคตรอย่างนี้ ๆ.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๔๓๒-๑๔๓.

พุทธวจน โสดาบัน มรรคมีองค์แปด



ผู้ไม่หลงเอาสิ่งอื่นมาเป็นแก่น

ภิกษุ ทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะ
และเสียงเยินยอเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความ
ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความ
ถึงพร้อมด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มี
ความถึงพร้อมด้วยญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์.
ภิกษุ ทั้งหลาย ! ก็เจโตวิมุตติ ที่ไม่กำเริบอันใดมีอยู่,
พรหมจรรย์นี้มี สิ่งนั้น นั่นแหละเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย
เป็นแก่นสาร เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์แล.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการด้วย
แก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึงต้นไม้
ใหญ่มีแก่นแล้ว ตัดเอาแก่นถือไปด้วยมั่นใจว่า ‘นี่เป็น
แก่นแท้’ ดังนี้. บุรุษมีตาดี เห็นคนนั้นเข้าแล้ว ก็กล่าวว่า
“ผู้เจริญคนนี้ ช่างรู้จักแก่น, รู้จักกระพี้, รู้จักเปลือกสด,
รู้จักสะเก็ดแห้งตามผิวเปลือก, รู้จักใบอ่อนที่ปลายกิ่ง.
จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ ต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้
เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึงต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ก็ตัดเอา
แก่นแท้ถือไปด้วยมั่นใจว่า ‘นี่ เป็นแก่นแท้’ ดังนี้. สิ่ง
ที่เขาจะต้องทำด้วยแก่นไม้ จักสำเร็จประโยชน์เป็นแท้”
ดังนี้.
มู. ม. ๑๒/๓๗๐/๓๕๑.
_____________________________
เจโตวิมุตติ คือ หัตตผลโดยมีน้ำหนักของการทำสมาธิมากกว่าการ
กระทำด้านอื่น ๆ
แบบของการหลุดพ้นยังมีอย่างอื่นอีกเช่น สัทธาวิมุตติ, ปัญญาวิมุต
เป็นต้น

ให้พึ่งตน พึ่งธรรม

อานนท์ ! เราได้กล่าวเตือนไว้ก่อนแล้วมิใช่
หรือว่า
“ความเป็นต่าง ๆ
ความพลัดพราก
ความเป็นอย่างอื่น
จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ย่อมมี;
อานนท์ !ข้อนั้น จักได้มาแต่ไหนเล่า :
สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว
เป็นแล้ว
อันปัจจัยปรุงแล้ว
มีความชำรุดไปเป็นธรรมดา,
สิ่งนั้นอย่าชำรุดไปเลย ดังนี้;
ข้อนั้น ย่อมเป็นฐานะที่มีไม่ได้”.

อานนท์ ! เปรียบเหมือนเมื่อต้นไม้ใหญ่
มีแก่นเหลืออยู่
ส่วนใดเก่าคร่ำกว่าส่วนอื่น
ส่วนนั้นพึงย่อยยับไปก่อน,
ข้อนี้ ฉันใด;
อานนท์ ! เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
มีธรรมเป็นแก่นสารเหลืออยู่,
สารีบุตรปรินิพพานไปแล้ว
ฉันนั้นเหมือนกัน.
อานนท์ ! ข้อนั้น จักได้มาแต่ไหนเล่า :
สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว
เป็นแล้ว
อันปัจจัยปรุงแล้ว
มีความชำรุดไปเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นอย่าชำรุดไปเลย ดังนี้;
ข้อนั้น ย่อมเป็นฐานะที่มีไม่ได้.

อานนท์ ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้
พวกเธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นประทีป
มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ;
จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ.
อานนท์ ! ภิกษุ มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ,
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะนั้น
เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่,
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเนือง ๆ อยู่,
พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่,
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนือง ๆ อยู่;
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

อานนท์ ! ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า
มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ;
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี 
ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี 
ใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ 
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; 
มีธรรมเป็นประทีป  มีธรรมเป็นสรณะ 
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.
อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา,
ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด.
มหาวาร .สํ. ๑๙/๒๑๖/๗๓๖.
_____________________________
ตรัสแก่ท่านพระอานนท์ ผู้เศร้าสลดในข่าวการปรินิพพานของท่านพระสารีบุตร
ซึ่งจุนทสามเณรนำมาบอกเล่า ที่พระอารามเชตวันใกล้นครสาวัตถี.

พุทธวจน ก้าวย่างอย่างพุทธะ

พุทธวจน ก้าวย่างอย่างพุทธะ

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สิ้นนันทิ สิ้นราคะ และสิ้นทุกข์

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแล
ว่าไม่เที่ยง ความเห็นเช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ (การ เห็น
อยู่โดยถูกต้อง) ของเธอนั้น.
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
(สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ
จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.
(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).

(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ
ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะ ภายนอก ๖ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่ง
จักษุ ทุกประการ.)
นันทิกขยวรรค สฬา.สํ. ๑๘ / ๑๗๙ / ๒๔๕-๖.

ความดับทุกข์มี เพราะความดับไป แห่งความเพลิน (นันทิ)

ปุณณะ ! รูป ที่เห็นด้วย ตา ก็ดี, เสียง ที่ฟัง
ด้วย หู ก็ดี, กลิ่น ที่ดมด้วย จมูก ก็ดี, รส ที่ลิ้ม ด้วย ลิ้น
ก็ดี, โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วย กาย ก็ดี, ธรรมารมณ์ ที่
รู้แจ้งด้วย ใจ ก็ดี, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่
น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้ง
อาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็น ที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ย้อมใจ มีอยู่ ;
ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่
เมาหมกซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้น. เมื่อภิกษุไม่
เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์มี
รูป เป็นต้นนั้นอยู่, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป.
ปุณณะ ! เรากล่าวว่า “ความดับไม่มีเหลือ
ของทุกข์มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของความเพลิน”
ดังนี้ แล.
อุปริ. ม.๑๔/๔๘๒/๗๕๖.

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ในอริยมรรคมีองค์ ๘

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ?
(เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป)
ความดำริในการออกจากกาม
(อพฺยาปาทสงฺกปฺโป)
ความดำริในการไม่มุ่งร้าย
(อวิหึสาสงฺกปฺโป)
ความดำริในการไม่เบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวายามะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อละอกุศลอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้
เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์
ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.
มหา. ที ๑๐/๓๘๔/๒๙๙.

กัลยณมิตร คือ อริยมรรค

อานนท์ ! ภิกษุผู้ชื่อว่า มีมิตรดี มีสหายดี
มีเพื่อนดี ย่อมเจริญทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์แปด
โดยอาการอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญทำให้มาก
ซึ่งสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ชนิดที่วิเวกอาศัยแล้ว ชนิดที่วิราคะอาศัยแล้ว ชนิดที่
นิโรธอาศัยแล้ว ชนิดที่น้อมไปรอบเพื่อการสลัดคืน.
อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุผู้มีมิตรดี
สหายดี เพื่อนดี เจริญทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์แปด.
อานนท์ ! ข้อนั้นเธอพึงทราบด้วยปริยาย
อันนี้เถิด คือว่า
พรหมจรรย์นี้ทั้งหมดนั่นเทียว ได้แก่
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี, ดังนี้.
อานนท์ ! จริงทีเทียว, สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเกิด
เป็นธรรมดา ได้อาศัยกัลยาณมิตรของเราแล้ว ย่อมพ้น
หมดจากชาติ, ผู้มีความแก่ชรา ความเจ็บป่วย ความตาย
ความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ
ความแห้งผากใจ เป็นธรรมดา
ครั้นได้อาศัย กัลยาณมิตรของเรา แล้ว ย่อม
หลุดพ้นหมดจากชาติ ความแก่ชรา ความเจ็บป่วย
ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ
ความแห้งผากใจ.
อานนท์ ! ข้อนั้น เธอพึงทราบโดยปริยาย
อันนี้เถิด คือว่า
พรหมจรรย์นี้ทั้งหมดนั่นเทียว ได้แก่
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี, ดังนี้.
สคา. สํ. ๑๕/๑๒๗/๓๘๓.

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ เพื่อการละขาดซึ่งภพ

สัตว์โลกนี้ เกิดความเดือดร้อนแล้ว มีผัสสะบังหน้า
ย่อมกล่าวซึ่งโรค (ความเสียดแทง) นั้น โดยความเป็นตัวเป็นตน
เขาสำคัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด แต่สิ่งนั้นย่อมเป็น (ตามที่เป็นจริง)
โดยประการอื่นจากที่เขาสำคัญนั้น สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว
มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น (จากที่มันเป็นอยู่จริง) จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น.
เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย (ที่เขาไม่รู้จัก) :
เขากลัวต่อสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์.
พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ.
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความหลุดพ้นจากภพว่ามีได้เพราะภพ ;
เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ.
ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความออกไปได้จากภพว่า มีได้เพราะวิภพ (ไม่มีภพ) :
เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น ก็ยังสลัดภพออกไปไม่ได้.
ก็ทุกข์นี้มีขึ้น เพราะอาศัยซึ่งอุปธิทั้งปวง.
เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทานทั้งปวง ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์จึงไม่มี.
ท่านจงดูโลกนี้เถิด (จะเห็นว่า) สัตว์ทั้งหลายอัน
อวิชชา (ความไม่รู้) หนาแน่นบังหนาแล้ว ;
และว่าสัตว์ผู้ยินดีในภพอันเป็นแล้วนั้น ย่อมไม่เป็นผู้หลุดพ้นไป
จากภพได้ ก็ภพทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด อันเป็นไปในที่หรือในเวลาทั้งปวง
เพื่อความมีแห่งประโยชน์โดยประการทั้งปวง ;
ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.
เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งข้อนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้อยู่ ;
เขาย่อมละภวตัณหา(ความอยากมีอยากเป็น)ได้
และไม่เพลิดเพลินวิภวตัณหา(ความไม่อยาก) ด้วย.
ความดับเพราะความสำรอกไม่เหลือ (แห่งภพทั้งหลาย)
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง นั้นคือนิพพาน.
ภพใหม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับเย็นสนิทแล้วเพราะไม่มีความยึดมั่น.
ภิกษุนั้น เป็นผู้ครอบงำมารได้แล้ว ชนะสงครามแล้ว
ก้าวล่วงภพทั้งหลายทั้งปวงได้แล้วเป็นผู้คงที่ (คือไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป), ดังนี้ แล.
อุ.ขุ. ๒๕ / ๑๒๑ / ๘๔.

พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ เพื่อการละขาดซึ่งภพ

จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน จิตไม่มีตัณหา เรียกว่าอยู่คนเดียว

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า
เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?”
มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจมีอยู่.
ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูป นั้นไซร้ ;
แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบ มัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่ นั่นแหละ,
นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น.
เมื่อ นันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง)ย่อมมี ;
เมื่อ สาราคะ มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี :

มิคชาละ ! ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน
นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง”.
(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี,กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูกก็ดี,
รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วย
ลิ้นก็ดี, โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกายก็ดี,
และ
ธรรมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจก็ดี, พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้มีนัยยะอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นด้วยจักษุ).

มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้แม้จะส้องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าและป่าชัฏ
ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย ปราศจากลมจากผิวกายคน
เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ เป็นที่สมควรแก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้ว ก็ตาม,
ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ;
ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ยังละไม่ได้แล้ว
เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง” ดังนี้.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว พระเจ้าข้า ?”
มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ เป็นรูปที่น่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่, ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน
ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบ มัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้,
แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้น นั่นแหละ,
นันทิ (ความเพลิน)ย่อมดับ ;
เมื่อ นันทิ ไม่อยู่, สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง)ย่อมไม่มี ;
เมื่อ สาราคะ ไม่มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมไม่มี :

มิคชาละ ! ภิกษุผู้ ไม่ประกอบพร้อมแล้วด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์
ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน(นันทิ) นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว”.

(ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี, กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูกก็ดี,
รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้นก็ดี,
โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกายก็ดี, และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจก็ดี, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้มีนัยยะ
อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นด้วยจักษุ).

มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
แม้อยู่ในหมู่บ้าน อันเกลื่อนกล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย,
ด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาทั้งหลาย,
ด้วยเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ตาม ;
ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเรา ก็เรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียวโดยแท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ข้อนั้นเพราะเหตุว่าตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ;
ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ละเสียได้แล้ว เพราะเหตุนั้น
ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว”, ดังนี้ แล.
สฬา.สํ. ๑๘ / ๔๓ – ๔๔ / ๖๖-๖๗.

พุทธวจน มรรควิธีที่ง่าย

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์ กับความดับสนิทของทุกข์

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ทั้งที่เรามีถ้อยคำอย่างนี้ มีการกล่าว
อย่างนี้ สมณะและพราหมณ์บางพวก ยังกล่าวตู่เราด้วย
คำเท็จ เปล่า ๆ ปลี้ ๆ ไม่มีจริงให้เป็นจริงว่า
“พระสมณโคดมเป็นคนจูงคนให้เดินผิดทางไปสู่
ความฉิบหาย ย่อมบัญญัติลัทธิความสูญเปล่า ความวินาศ
ความไม่มีของสัตว์ คน ตัวตน เราเขา ขึ้นสั่งสอน” ดังนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมณะและพราหมณ์บางพวกเหล่านั้น
กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ เปล่า ๆ ปลี้ ๆ ไม่มีจริงให้เป็นจริง
โดยประการที่เราไม่ได้กล่าว หรือจะกล่าวอย่างนั้นก็
หามิได้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกาลก่อนก็ตาม ในกาลบัดนี้ ก็ตาม
เราบัญญัติสอนแต่เรื่องความทุกข์ และความดับสนิท
ไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น
.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในการกล่าวแต่เรื่องความทุกข์ และ
ความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์เช่นนี้ แม้จะมีใคร
มาด่าว่า ถากถาง กระทบกระเทียบ เสียดสี, ตถาคตก็ไม่
มีความขุ่นแค้น โกรธเคือง เดือดร้อนใจ เพราะเหตุนั้น
แต่ประการใด.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในเรื่องเดียวกันนั้นเอง แม้จะมีใคร
มาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา, ตถาคตก็ไม่มี
ความรู้สึกเพลิดเพลิน ชื่นชม หรือเคลิ้มใจไปตาม.
ถ้ามีใครมาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา,
ตถาคตย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ก่อนหน้านี้เรามี
ความรู้สึกตัวทั่วถึงอย่างไร บัดนี้เราก็ต้องทำความรู้สึกตัว
ทั่วถึงอย่างนั้น ดังนี้.

มู. ม. ๑๒/๒๗๘/๒๘๖.


ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์ กับความดับสนิทของทุกข์

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ก็สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นกายในกาย
อยู่เป็นประจำก็ดี, เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
อยู่เป็นประจำก็ดี; เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำก็ดี;
เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำก็ดี;
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้; สมัยนั้น สติที่ภิกษุเข้าไป
ตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว
เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง, สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์
ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ;
ภิกษุนั้น
เมื่อเป็น ผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ชื่อว่าย่อมทำการเลือก
ย่อมทำ
การเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่
ทำการเลือกเฟ้น ทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา,
สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความ
เต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญ
ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญาอยู่ ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน
ก็ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อัน
ภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมด้วยปัญญาได้ปรารภแล้ว;
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์; สมัยนนั้
วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่ง
การเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว
เช่นนั้น ปีติอันเป็นนิรามิส (ไม่อิงอามิส) ก็เกิดขึ้น.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้นแก่
ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว;
สมัยนั้น
ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น
เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของ
ภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ;
สมัยนั้น
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น
ชื่อว่าถึง
ความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว
มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกาย
อันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมเป็นจิตตั้งมั่น;
สมัยนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น
ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์; สมัยนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.
ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ

ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ
ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี;
สมัยนั้น
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความ
เต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุ ทั้งลาย. ! สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้.

อานาปานสติบริบูรณ์ ย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”;

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราย่อมกล่าวลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
ว่าเป็นกายอย่างหนึ่ง ๆ ในบรรดากายทั้งหลาย
.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่” หายใจออก”;

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราย่อมกล่าวว่า
การทำในใจเป็นอย่างดีถึงลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
ว่าเป็นเวทนาอย่างหนึ่งๆ ในบรรดาเวทนาทั้งหลาย.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะ
เหตุนั้น ในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตหายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจออก”;

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ
เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เราไม่กล่าวว่าอานาปานสติ
เป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว
เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้
ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ได้.