วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เหตุแห่งการเกิดในครรภ์

ภิกษุทั้งหลาย ! การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์
ย่อมมีได้ เพราะการประชุมพร้อมของสิ่ง ๓ อย่าง.
ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกัน
แต่มารดายังไม่ผ่านการมีระดู และคันธัพพะ (สัตว์ที่จะเข้าไป
ปฏิสนธิในครรภ์นั้น) ก็ยังไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะด้วย
การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ก็ยังมีขึ้นไม่ได้ก่อน.
ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็น ผู้อยู่ร่วมกันและ
มารดาก็ผ่านการมีระดู แต่คันทัพพะของเขาไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะ
การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ก็ยังมีขึ้นไม่ได้นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย ! แต่เมื่อใด
มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันด้วย
มารดาก็ผ่านการมีระดูด้วย
คันธัพพะก็เข้าไปตั้งอยู่โดย
เฉพาะด้วย
การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ย่อมสำเร็จได้
เพราะการประชุมพร้อมกันของสิ่ง ๓ อย่าง
ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! มารดา ย่อมบริหารสัตว์ที่เกิดใน
ครรภ์นั้น ด้วยความเป็นห่วงอย่างใหญ่หลวงเป็นภาระหนัก
ตลอดเวลาเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อล่วงไปเก้าเดือนเดือนหรือสิบเดือน
มารดา ย่อมคลอดบุตรนั้นด้วยความเป็นห่วงอย่างใหญ่หลวง
เป็นภาระหนัก ได้เลี้ยงซึ่งบุตรอันเกิดแล้วนั้น ด้วยโลหิต
ของตนเอง.
ภิกษุทั้งหลาย ! ในอริยวินัย คำว่า “โลหิต” นี้
หมายถึงน้ำนมของมารดา.
ภิกษุทั้งหลาย ! ทารกนั้น เจริญวัยขึ้น มีอินทรีย์
อันเจริญเต็มที่แล้ว เล่นของเล่นสำหรับเด็ก เช่น เล่นไถ
น้อยๆ เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นของเล่นชื่อโมกขจิกะ
เล่นกังหันลมน้อยๆ เล่นตวงของด้วยเครื่องตวงที่ทำด้วย
ใบไม้ เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ทารกนั้น ครั้นเจริญวัยขึ้นแล้ว
มีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว เป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วย
กามคุณ ๕ ให้เขาบำเรออยู่ทางตาด้วยรูป,
ทางหูด้วยเสียง,
ทางจมูกด้วยกลิ่น,
ทางลิ้นด้วยรส
และทางกายด้วยโผฏฐัพพะ
ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่
ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่
เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัดย้อมใจ และเป็นที่ตั้งแห่ง ความรัก.
ทารกนั้น ครั้นเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมกำหนัด
ยินดีในรูป ที่ยั่วยวนให้เกิดความรัก ย่อมขัดใจในรูป ที่
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ไม่เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งสติ อันเป็นไป
ในกาย มีใจเป็นอกุศล ไม่รู้ตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาป
อกุศลทั้งหลาย.
ทารกนั้น ครั้นได้ยินเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วย
จมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมกำหนัดยินดีในธรรมารมณ์
ที่ยั่วยวนให้เกิดความรัก ย่อมขัดใจในธรรมารมณ์ที่เป็นที่
ที่ตั้งแห่งความรัก ไม่เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งสติอันเป็นไปในกาย
มีใจเป็นอกุศล ไม่รู้ตามที่เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศล
ทั้งหลาย.
กุมารน้อยนั้น เมื่อประกอบด้วยความยินดีและ
ความยินร้ายอยู่เช่นนี้แล้ว เสวยเฉพาะซึ่งเวทนาใดๆ
เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม เขาย่อม
เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้นๆ.
เมื่อเป็นอยู่เช่นนั้น
ความเพลิน (นันทิ) ย่อมบังเกิดขึ้น
ความเพลินใดในเวทนาทั้งหลาย มีอยู่
ความเพลินอันนั้น เป็นอุปาทาน
เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย
จึงเกิดมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย
จึงเกิดมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงเกิดมีพร้อม
ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
มู. ม. ๑๒/๔๘๕-๔๘๗/๔๕๒-๔๕๓.

1. เจโตวิมุตติ : การหลุดพ้นอันอาศัยสมถะ (สมาธิ).
2. ปัญญาวิมุตติ : การหลุดพ้นอันอาศัยวิปัสสนา (ปัญญา).

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สุคติของผู้มีศีล

ภิกษุทั้งหลาย !
สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กระทำกรรมใดไว้ดีก็ตามชั่วก็ตาม
จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น.


ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ :-
ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย
ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย
เขาไม่กระเสือกกระสนด้วย(กรรมทาง) กาย
ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) วาจา
ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ

กายกรรมของเขาตรง
วจีกรรมของเขาตรง
มโนกรรมของเขาตรง
คติของเขาตรง อุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ของเขาตรง.
ภิกษุทั้งหลาย ! สำหรับผู้มีคติตรง
มีอุปบัติตรงนั้น
เรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาคติสองอย่างแก่เขา
คือ เหล่าสัตว์ผู้มีสุขโดยส่วนเดียว 
หรือว่าตระกูลอันสูง
คือตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาล
หรือตระกูลคหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
มีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์มาก.

ภิกษุทั้งหลาย ! ภูตสัตว์ ย่อมมีด้วยอาการ
อย่างนี้ คือ อุปบัติ ย่อมมีแก่ภูตสัตว์
เขาทำกรรมใดไว้
เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น
ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้อง
ภูตสัตว์นั้นผู้อุปบัติแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่าสัตว์ทั้งหลายเป็น
ทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.

(ในกรณีแห่งบุคคลผู้ไม่กระทำอทินนาทาน ไม่กระทำ
กาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณี
ของผู้ไม่กระทำปาณาติบาต ดังกล่าวมาแล้วข้างบนทุกประการ
และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจีสุจริตสี่ มโนสุจริตสาม ด้วยข้อความ
อย่างเดียวกันอีกด้วย)
ทสก. อํ. ๒๔/๓๑๑/๑๙๓.

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เหตุการณ์ช่วงปรินิพพาน

สารีบุตร ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวอย่างนี้
เห็นอย่างนี้ว่า ชั่วเวลาที่บุรุษนี้ยังเป็นหนุ่ม มีผมดำสนิท
ประกอบด้วยความหนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัย, ก็ยังคง
ประกอบด้วยปัญญาอันเฉียบแหลมว่องไวอยู่เพียงนั้น,
เมื่อใดบุรุษนี้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลนาน ผ่านวัยไปแล้ว
มีอายุ ๘๐ ปี, ๙๐ ปีหรือ ๑๐๐ ปี จากการเกิด, เมื่อนั้น เขา
ย่อมเป็นผู้เสื่อมสิ้นจากปัญญาอันเฉียบแหลมว่องไว.
สารีบุตร ! ข้อนี้ เธออย่าพึงเห็นอย่างนั้น, เรานี้แล
ในบัดนี้เป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาแล้ว
วัยของเรานับได้ ๘๐ ปี, ...ฯลฯ...
สารีบุตร ! ธรรมเทศนาที่แสดงไปนั้น ก็มิได้
แปรปรวน บทพยัญชนะแห่งธรรมของตถาคต ก็มิได้
แปรปรวน ปฏิภาณในการตอบปัญหาของตถาคต ก็มิได้
แปรปรวน ฯลฯ,
สารีบุตร ! แม้ว่าเธอทั้งหลาย จักนำเราไปด้วย
เตียงน้อย (สำหรับหามคนทุพพลภาพ), ความแปรปรวนเป็น
อย่างอื่น แห่งปัญญาอันเฉียบแหลม ว่องไว ของตถาคต
ก็มิได้มี.
สารีบุตร !
ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวให้ถูกให้ชอบว่า
“สัตว์มีความไม่หลงเป็นธรรมดา
บังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก,
เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”

ดังนี้แล้ว ผู้นั้นพึงกล่าวซึ่งเราผู้เดียวเท่านั้น.
ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วลูบคลำทั่วพระกายของพระผู้มีพระภาคอยู่ พลาง
กล่าวถ้อยคำนี้ ว่า :-)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้น่าอัศจรรย์; ข้อนี้ไม่เคยมีมาก่อน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้ ฉวีวรรณของพระผู้มีพระภาค ไม่บริสุทธิ์ผุดผ่อง
เหมือนแต่ก่อน และพระกายก็เหี่ยวย่นหย่อนยาน มีพระองค์ค้อมไป
ข้างหน้า อินทรีย์ทั้งหลาย ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมด ทั้งพระจักษุ โสตะ
ฆานะ ชิวหา กายะ”
อานนท์ ! นั่น ต้องเป็นอย่างนั้น; คือ
ความชรามี (ซ่อน) อยู่ในความหนุ่ม,
ความเจ็บไข้มี (ซ่อน) อยู่ในความไม่มีโรค,
ความตายมี (ซ่อน) อยู่ในชีวิต;
ฉวีวรรณจึงไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเสียแล้ว และกายก็
เหี่ยวย่นหย่อนยาน มีตัวค้อมไปข้างหน้า อินทรีย์ทั้งหลาย
ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมด ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ดังนี้.

พระผู้มีพระภาค ครั้นตรัสคำนี้แล้ว ได้ตรัส
ข้อความนี้ (เป็นคำกาพย์กลอน) อีกว่า :-
โธ่เอ๋ย ! ความแก่อันชั่วช้าเอ๋ย !
อันทำความน่าเกลียดเอ๋ย !
กายที่น่าพอใจบัดนี้ก็ถูกความแก่ย่ำยีหมดแล้ว.
แม้ใครจะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี
ทุกคนก็ยังมีความตายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
ความตายไม่ยกเว้นให้แก่ใคร ๆ
มันย่ำยีหมดทุกคน.

อานนท์ ! บัดนี้ เรามีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุ
สังขารแล้ว ณ ปาวาลเจดีย์นี้. (พระอานนท์ได้สติจึงทูลขอให้
ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยอิทธิบาทภาวนา กัปป์หนึ่งหรือยิ่งกว่ากัปป์;
ทรงปฏิเสธ)
อานนท์ ! อย่าเลย, อย่าวิงวอนตถาคตเลย มิใช่
เวลาจะวิงวอนตถาคตเสียแล้ว. (พระอานนท์ทูลวิงวอนอีกจน
ครบสามครั้ง ได้รับพระดำรัสตอบอย่างเดียวกัน, ตรัสว่าเป็นความผิดของ
พระอานนท์ผู้เดียว, แล้วทรงจาระไนสถานที่ ๑๖ แห่ง ที่เคยให้โอกาสแก่
พระอานนท์ในเรื่องนี้ แต่พระอานนท์รู้ไม่ทันสักครั้งเดียว)
อานนท์ ! ในที่นั้น ๆ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต
ตถาคตจักห้ามเสียสองครั้ง แล้วจักรับคำในครั้งที่สาม,
อานนท์ ! ตถาคตได้บอกแล้วมิใช่หรือ ว่าสัตว์
จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น, สัตว์จะได้
ตามปรารถนา ในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า, ข้อที่สัตว์จะหวัง
เอาสิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีการแตกดับ
เป็นธรรมดา ว่าสิ่งนี้อย่าฉิบหายเลยดังนี้ ย่อมไม่เป็นฐานะ
ที่มีได้ เป็นได้.
มู. ม. ๑๒/๑๖๓/๑๙๒, มหาวาร. สํ ๑๙/๒๘๗/๙๖๓.

สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่
ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิต
ทั้งที่มั่งมี และ ยากจน
ล้วนแต่มีความตายเป็นที่ไปถึง ในเบื้องหน้า.
เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้ว
ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกแล้ว และยังดิบ
ล้วนแต่มีการแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใด
ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น
วัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว
เราจักละพวกเธอไป
สรณะของตัวเองเราได้ทำไว้แล้ว
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
มีสติ มีศีลเป็นอย่างดี
มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี
ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด
ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว
จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

มหา. ที. ๑๐/๑๔๑/๑๐๘.



พุทธวจน ความชรามีซ่อนอยู่ในความหนุ่ม


พุทธวจน ความแก่อันชั่วช้า




พุทธวจน  ล้วนแต่มีความตายเป็นที่ไปถึงในเบื้องหน้า

พุทธวจน  ล้วนแต่มีความตายเป็นที่ไปถึงในเบื้องหน้า



พุทธวจน จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น

สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่ ทั้งที่เป็นคนพาล และบัณฑิต
สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่ ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิต

เหตุการณ์ช่วงปรินิพพาน มีความตายเป็นเบื้องหน้า

สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น


ชิวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็มีความตายเป็นเบื้องหน้า
สัตว์  จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น

สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น

ผู้ใดเป็นผู้ไม่ประมาท จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทุกข์ที่เกิดจากหนี้

ภิกษุ ท. ! ความยากจน เป็นทุกข์ของคน
ผู้บริโภคกามในโลก.
ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ย่อมกู้หนี้,
การกู้หนี้ นั้นเป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.
ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ กู้หนี้แล้ว
ต้องใช้ดอกเบี้ย, การต้องใช้ดอกเบี้ย นั้นเป็นทุกข์ของ
คนบริโภคกามในโลก.
ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ กู้หนี้แล้ว
ต้องใช้ดอกเบี้ย ไม่อาจใช้ดอกเบี้ยตามเวลา เจ้าหนี้ก็ทวง,
การถูกทวงหนี้ นั้นเป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.
ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ถูก
ทวงหนี้อยู่ ไม่อาจจะใช้ให้ เจ้าหนี้ย่อมติดตาม, การถูกติดตาม
นั้นเป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.
ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ถูก
ติดตามอยู่ไม่อาจจะใช้ให้ เจ้าหนี้ย่อมจับกุม, การถูกจับกุม
นั้นเป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.
ภิกษุ ท. ! ความยากจน ก็ดี, การกู้หนี้ ก็ดี,
การต้องใช้ดอกเบี้ย ก็ดี, การถูกทวงหนี้ ก็ดี, การถูกติดตาม
ก็ดี, การถูกจับกุม ก็ดี,
ทั้งหมดนี้ เป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น :
ความไม่มีศรัทธา -
หิริ -
โอตตัปปะ -
วิริยะ -
ปัญญา,
ในกุศลธรรม มีอยู่แก่ผู้ใด;
เรากล่าวบุคคลผู้นั้นว่า
เป็นคนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ในอริยวินัย.
ภิกษุ ท. ! คนจนชนิดนั้น
เมื่อไม่มีศรัทธา -
หิริ -
โอตตัปปะ -
วิริยะ -
ปัญญา,
ในกุศลธรรม เขาย่อมประพฤติ
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต,
เรากล่าว การประพฤติทุจริต ของเขานี้ว่าเป็น
การกู้หนี้.
เพื่อจะปกปิดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตของเขา
เขาตั้งความปรารถนาลามก ปรารถนาไม่ให้ใครรู้จักเขา
ดำริไม่ให้ใครรู้จักเขา พูดจาเพื่อไม่ให้ใครรู้จักเขา ขวนขวาย
ทุกอย่างเพื่อไม่ให้ใครรู้จักเขา,
เรากล่าวการปกปิดความทุจริตอย่างนี้ของเขานี้
ว่าเป็น ดอกเบี้ยที่เขาต้องใช้.
เพื่อนพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รัก พากันกล่าว
ปรารภ เขาอย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุนี้ทำอะไร ๆ (ทุจริต)
อย่างนี้ มีปกติประพฤติกระทำอะไร ๆ (ทุจริต) อย่างนี้”,
เรากล่าว การถูกกล่าวอย่างนี้ ว่าเป็นการถูกทวงหนี้.
เขาจะไปอยู่ป่าก็ตาม อยู่โคนไม้ก็ตาม อยู่เรือนว่าง
ก็ตาม อกุศลวิตก อันลามกประกอบอยู่ด้วยความร้อนใจ
ย่อม เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตใจเขา,
เรากล่าวอาการอย่างนี้ ว่าเป็น การถูกติดตาม
เพื่อทวงหนี้
.
ภิกษุ ท. ! คนจนชนิดนี้
ครั้นประพฤติกาย –วจี – มโนทุจริตแล้ว
ภายหลังแต่การตาย เพราะการแตก
ทำลายแห่งกาย ย่อม ถูกจองจำอยู่ในนรก บ้าง
ในกำเนิดเดรัจฉาน บ้าง.
ภิกษุ ท. ! เราไม่มองเห็นการจองจำอื่นแม้
อย่างเดียวที่ทารุณอย่างนี้เจ็บปวดอย่างนี้ เป็นอันตราย
อย่างนี้ ต่อการบรรลุโยคักเขมธรรมอันไม่มีธรรมอื่น
ยิ่งกว่าเหมือนการถูกจองจำในนรก หรือในกำเนิด
เดรัจฉานอย่างนี้.
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ความยากจนและการกู้หนี้ ท่านกล่าวว่าเป็น
ความทุกข์ในโลก.
คนจนกู้หนี้มาเลี้ยงชีวิต ย่อมเดือดร้อน เพราะ
เจ้าหนี้ติดตามบ้าง เพราะถูกจับกุมบ้าง.
การถูกจับกุมนั้น เป็นความทุกข์ของคนบูชา
การได้กาม.
ถึงแม้ในอริยวินัยนี้ก็เหมือนกัน :
ผู้ใดไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ
สั่งสมแต่บาปกรรม กระทำกายทุจริต - วจีทุจริต
- มโนทุจริต
ปกปิดอยู่ด้วยการกระทำทางกาย ทางวาจา ทาง
จิต เพื่อไม่ให้ผู้ใดรู้จักเขา,
ผู้นั้น พอกพูนบาปกรรมอยู่เนืองนิตย์ ในที่นั้น ๆ.
คนชั่วทำบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน
เสมือนคนยากจน กู้หนี้มาบริโภคอยู่ ย่อมเดือดร้อน.
ความตริตรึกที่เกิดจากวิปฏิสาร อันเป็นเครื่อง
ทรมานใจ ย่อมติดตามเขา ทั้งในบ้านและในป่า.
คนชั่วทำบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน
ไปสู่กำเนิดเดรัจฉานบางอย่างหรือว่าถูกจองจำอยู่ในนรก.
การถูกจองจำนั้นเป็นทุกข์ ชนิดที่ธีรชนไม่เคยประสบเลย.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๒/๓๑๖.

พุทธวจน ฆราวาสชั้นเลิศ

โทษของอบายมุขแต่ละข้อ

คหบดีบุตร ! โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่ง การดื่มนํ้าเมา คือ สุราและเมรัย 
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
มี ๖ ประการ คือ :-

(๑) ความเสื่อมทรัพย์อันผู้ดื่มพึงเห็นเอง
(๒) ก่อการทะเลาะวิวาท
(๓) เป็นบ่อเกิดแห่งโรค
(๔) เป็นเหตุเสียชื่อเสียง
(๕) เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย
(๖) เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา 

คหบดีบุตร ! เหล่านี้แล คือ โทษ ๖ ประการ
ในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มนํ้าเมา คือ สุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท.

คหบดีบุตร ! โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่ง การเที่ยวไปในตรอกต่างๆ 
ในเวลากลางคืน มี ๖ ประการ คือ :-

(๑)  ผู้นั้นชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว

(๒)  ผู้นั้นชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาบุตรภรรยา
(๓)  ผู้นั้นชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพยส์ มบัติ
(๔)  ผู้นั้นชื่อว่า เป็นที่ระแวงของคนอื่น
(๕)  คำพูดอันไม่เป็นจริงในที่นั้นๆ ย่อมปรากฏในผู้นั้น
(๖)  เหตุแห่งทุกข์เป็นอันมาก ย่อมแวดล้อมผู้นั้น

คหบดีบุตร ! เหล่านี้แล คือ โทษ ๖ ประการ
ในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการเที่ยวไปในตรอกต่างๆ
ในเวลากลางคืน.

คหบดีบุตร ! โทษในการ เที่ยวไปในที่ชุมนุมแห่งความเมา 
มี ๖ ประการ คือ :-

(๑) รำที่ไหน ไปที่นั่น
(๒) ขับร้องที่ไหน ไปที่นั่น
(๓) ประโคมที่ไหน ไปที่นั่น
(๔) เสภาที่ไหน ไปที่นั่น
(๕) เพลงที่ไหน ไปที่นั่น
(๖) เถิดเทิงที่ไหน ไปที่นั่น

คหบดีบุตร ! เหล่านี้แล คือ โทษ ๖ ประการ
ในการเที่ยวไปในที่ชุมนุมแห่งความเมา.

คหบดีบุตร ! โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่ง
การพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มี ๖ ประการ คือ :-

(๑) ผู้ชนะย่อมก่อเวร
(๒) ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป
(๓) ย่อมเสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน
(๔) ถ้อยคำของคนเล่นการพนัน ซึ่งไปพูดในที่
ประชุมฟังไม่ขึ้น
(๕) ถูกมิตร อมาตย์หมิ่นประมาท
(๖) ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่า
ชายนักเลงเล่นการพนัน ไม่สามารถจะเลี้ยงภรรยาได้

คหบดีบุตร ! เหล่านี้แล คือ โทษ ๖ ประการ
ในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาท.

คหบดีบุตร ! โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่ง
การคบคนชั่วเป็นมิตร มี ๖ ประการ คือ :-

(๑) นำให้เป็นนักเลงการพนัน
(๒) นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
(๓) นำให้เป็นนักเลงเหล้า
(๔) นำให้เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม
(๕) นำให้เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า
(๖) นำให้เป็นคนหัวไม้

คหบดีบุตร ! เหล่านี้แล คือ โทษ ๖ ประการ
ในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่วเป็นมิตร.

คหบดีบุตร ! โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่ง
ความเกียจคร้าน มี ๖ ประการ คือ :-

(๑) ชอบอ้างว่า หนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน
(๒) ชอบอ้างว่า ร้อนนัก แล้วไม่ทำการงาน
(๓) ชอบอ้างว่า เวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน
(๔) ชอบอ้างว่า ยังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน
(๕) ชอบอ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำการงาน
(๖) ชอบอ้างว่า กระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน
เมื่อเขามากไปด้วยการอ้างเลศ ผลัดผ่อนการงาน
อยู่อย่างนี้ โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็ถึงความสิ้นไป.

คหบดีบุตร ! เหล่านี้แล คือ โทษ ๖ ประการ
ในการประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน.

ปา. ที. ๑๑/๑๙๖-๑๙๘/๑๗๘-๑๘๔.

พุทธวจน การดื่มน้ำเมา

พุทธวจน การเที่ยวไปในตรอกต่างๆในเวลากลางคืน

พุทธวจน การไปในที่ชุมนุมแห่งความเมา

พุทธวจน การประกอบเนื่องๆซึ่งการพนัน

พุทธวจน การคบคนชั่ว

พุทธวจน ความเกียจค้าน

พุทธวจน ปฐมธรรม



อบายมุข ๖ (ทางเสื่อมแห่งทรัพย์ ๖ ทาง)

คหบดีบุตร ! อริยสาวก ไม่เสพทางเสื่อม
แห่งโภคทรัพย์ ๖ ทาง (อบายมุข ๖) คือ :-

(๑) การประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
เป็นทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์,

(๒) การประกอบเนืองๆ ซึ่งการเที่ยวไป
ในตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน เป็นทางเสื่อมแห่ง
โภคทรัพย์,

(๓) การเที่ยวไปในที่ชุมนุมแห่งความเมา
(สมชฺชาภิจรณ) เป็นทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์,

(๔) การประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนัน อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์,

(๕) การประกอบเนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่ว
เป็นมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์,

(๖) การประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน

เป็นทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์.

ปา. ที. ๑๑/๑๙๖-๑๙๘/๑๗๘-๑๘๔.

เหตุเสื่อมและเหตุเจริญแห่งทรัพย์

พ๎ยัคฆปัชชะ ! โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบ…
ย่อมมี ทางเสื่อม ๔ ประการ คือ :-

(๑) ความเป็นนักเลงหญิง
(๒) ความเป็นนักเลงสุรา
(๓) ความเป็นนักเลงการพนัน
(๔) ความมีมิตรสหายเพื่อนฝูงเลวทราม

พ๎ยัคฆปัชชะ ! เปรียบเหมือนทางนํ้าเข้า ๔ ทาง
ทางน้ำออก ๔ ทาง ของบึงใหญ่มีอยู่, บุรุษปิดทางน้ำเข้า
เหล่านั้นเสีย และเปิดทางน้ำออกเหล่านั้นด้วย ทั้งฝนก็
ไม่ตกลงมาตามที่ควร.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! เมื่อเป็นอย่างนั้น ความเหือดแห้ง
เท่านั้นที่หวังได้สำหรับบึงใหญนั้นความเต็มเปี่ยม ไม่มีทาง

ที่จะหวังได้ นี้ฉันใด;

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ผลที่จะเกิดขึ้นก็ฉันนั้นสำหรับ
โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเสื่อม

๔ ประการ คือ :-

(๑) ความเป็นนักเลงหญิง
(๒) ความเป็นนักเลงสุรา
(๓) ความเป็นนักเลงการพนัน
(๔) ความมีมิตรสหายเพื่อนฝูงเลวทราม.

เหตุเจริญแห่งทรัพย์ ๔ ประการ

พ๎ยัคฆปัชชะ ! โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบ…
ย่อมมีทางเจริญ ๔ ประการ คือ :-

(๑) ความไม่เป็นนักเลงหญิง
(๒) ไม่เป็นนักเลงสุรา
(๓) ไม่เป็นนักเลงการพนัน
(๔) มีมิตรสหายเพื่อนฝูงที่ดีงาม

พ๎ยัคฆปัชชะ ! เปรียบเหมือนทางนํ้าเข้า ๔ ทาง
ทางน้ำออก ๔ ทาง ของบึงใหญ่, บุรุษเปิดทางนํ้าเข้า
เหล่านั้นด้วย และปิดทางน้ำออกเหล่านั้นเสีย ทั้งฝนก็
ตกลงมาตามที่ควรด้วย.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! เมื่อเป็นอย่างนั้น ความเต็มเปี่ยม
เท่านั้นที่หวังได้สำหรับบึงใหญ่นั้น ความเหือดแห้งเป็นอัน
ไม่ต้องหวัง นี้ฉันใด;

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ผลที่จะเกิดขึ้นก็ฉันนั้นสำหรับ
โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมี
ทางเจริญ ๔ ประการ คือ :-

(๑) ความไม่เป็นนักเลงหญิง
(๒) ไม่เป็นนักเลงสุรา
(๓) ไม่เป็นนักเลงการพนัน
(๔) มีมิตรสหายเพื่อนฝูงที่ดีงาม.

อฎฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙-๒๙๓/๑๔๔.



หลักการดำรงชีพ เพื่อประโยชน์สุขในวันหน้า

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้เป็นเพื่อประโยชนเ์กื้อกูล 
เพื่อความสุขของกุลบุตร ในเบื้องหน้า (สัมปรายะ).

๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-

(๑) ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา (สัทธาสัมปทา)
(๒) ความถึงพร้อมด้วยศีล (สีลสัมปทา)
(๓) ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค (จาคสัมปทา)
(๔) ความถึงพร้อมด้วยปัญญา (ปัญญาสัมปทา)

ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา
(สัทธาสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มี
ศรัทธา เชื่อในการตรัสรูข้ องตถาคตว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆ
พระผูมี้พระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ

ได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถ
ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอน
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว”
ดังนี้. พ๎ยัคฆปชั ชะ ! นี้เรียกว้า ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา

ความถึงพร้อมด้วยศีล

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความถึงพร้อมด้วยศีล (สีลสัมปทา)
เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาด
จากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาด
จากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาด
จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน. พ๎ยัคฆปชั ชะ ! นี้เรียกว่า
ความถึงพร้อมด้วยศีล.

ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค
(จาคสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ มีใจปราศจาก
ความตระหนี่อันเป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีจาคะอัน
ปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่มเป็นปกติ ยินดีแล้ว
ในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีแล้วในการจำแนกทาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค.

ความถึงพร้อมด้วยปัญญา 

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความถึงพร้อมด้วยปัญญา
(ปัญญาสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เปน็ ผูมี้ปญั ญา
ประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับ
เป็นเครื่องไปจากข้าศึก เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส 
เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแหง่ ทุกข์โดยชอบ. 
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า ความถึงพร้อมด้วยปัญญา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล
เป็นธรรม เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ของกุลบุตร ในเบื้องหน้า.

อฎฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙-๒๙๓/๑๔๔.






หลักการดำรงชีพ เพื่อประโยชน์สุขในวันนี้

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการ เหล่านี้
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่กุลบุตร
ในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรม).

๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-

(๑) ความขยันในอาชีพ (อุฏฐานสัมปทา)
(๒) การรักษาทรัพย์ (อารักขสัมปทา)
(๓) ความมีมิตรดี (กัลยาณมิตตตา)
(๔) การดำรงชีวิตสม่ำเสมอ (สมชีวิตา)

ความขยันในอาชีพ

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความขยันในอาชีพ (อุฏฐานสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปชัชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ สำเร็จการเป็นอยู่

ด้วยการลุกขึ้นกระทำการงาน คือด้วยกสิกรรม หรือวานิชกรรม

โครักขกรรม อาชีพผู้ถืออาวุธ อาชีพราชบุรุษ หรือด้วย
ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ในอาชีพนั้นๆ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยการสอดส่องในอุบายนั้นๆ
สามารถกระทำ สามารถจัดให้กระทำ.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า ความขยันในอาชีพ.

การรักษาทรัพย์

พ๎ยัคฆปัชชะ ! การรักษาทรัพย์ (อารักขสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้, โภคทรัพย์
อันกุลบุตรหาได้มาด้วยความเพียร เป็นเครื่องลุกขึ้น
รวบรวมมาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็น
โภคทรัพย์ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม, เขารักษา
คุ้มครองอย่างเต็มที่ ด้วยหวังว่า “อย่างไรเสียพระราชา
จะไม่ริบทรัพย์ของเราไป โจรจะไม่ปล้นเอาไป ไฟจะไม่ไหม้
นํ้าจะไม่พัดพาไป ทายาทอันไม่รักใครเล่า จะไม่ยื้อแย่งเอาไป” ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า การรักษาทรัพย์.

ความมีมิตรดี

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความมีมิตรดี (กัลยาณมิตตตา) เป็นอย่างไรเล่า ?

พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ อยู่อาศัย
ในบ้านหรือนิคมใด, ถ้ามีบุคคลใดๆ ในบ้านหรือนิคมนั้น
เป็นคหบดีหรือบุตรคหบดีก็ดี เป็นคนหนุ่ม 
ที่เจริญด้วยศีลหรือเป็นคนแก่ที่เจริญด้วยศีลก็ดี ล้วนแต่ถึงพร้อมด้วย
ศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ ถึงพร้อม
ด้วยปัญญา อยู่แล้วไซร้, 

กุลบุตรนั้นก็ดำรงตนร่วมพูดจาร่วม สากัจฉาร่วม กับชนเหล่านั้น.
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยศรัทธาโดยอนุรูป แก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา.
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยศีลโดยอนุรูป แก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยจาคะโดยอนุรูป แก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ.
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยปัญญาโดยอนุรูป แก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา อยู่ในที่นั้นๆ.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า ความมีมิตรดี.

การดำรงชีวิตสม่ำเสมอ

พ๎ยัคฆปัชชะ ! การดำรงชีวิตสม่ำเสมอ (สมชีวิตา) เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ รู้จักความ
ได้มาแหง่ โภคทรัพย์รู้จักความสิ้นไปแห่ง โภคทรัพย์แล้ว
ดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไมฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก
โดยมีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่าย
ของเราจักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! เปรียบเหมือนคนถือตาชั่ง หรือ
ลูกมือของเขา ยกตาชั่งขึ้นแล้ว ก็รู้ว่า “ยังขาดอยู่เท่านี้
หรือเกินไปแล้วเท่านี้” ดังนี้ฉันใด; กุลบุตรนี้ ก็ฉันนั้น :
เขารู้จักความได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่ง
โภคทรัพย์แล้ว ดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ฝืดเคืองนัก โดยมีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไมท่วมมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้”
ดังนี้.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ถ้ากุลบุตรนี้เป็นผู้มีรายได้น้อย
แต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือยแล้วไซร้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า
กุลบุตรนี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ (อย่างสุรุ่ยสุร่าย) เหมือนคนกิน
ผลมะเดื่อ ฉันใดก็ฉันนั้น.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! แต่ถ้ากุลบุตร เป็นผู้มีรายได้
มหาศาล แต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นแล้วไซร้ ก็
จะมีผู้กล่าวว่า กุลบุตรนี้จักตายอดตายอยากอย่างคนอนาถา.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! เมื่อใด กุลบุตรนี้ รู้จักความได้มา
แห่งโภคทรัพย์รู้จักความสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์แล้วดำรง
ชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก โดย
มีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่ายของเรา
จักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้;

พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า การดำรงชีวิตสม่ำเสมอ.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล
เป็นธรรม เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ของกุลบุตร ในทิฏฐธรรม.

อฎฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙-๒๙๓/๑๔๔.

พุทธวจน อารักขสัมปทา

พุทธวจน อุฎฐานสัมปทา