วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ (นัยที่ ๑)

อานนท์ ! วิญญาณฐิติ (ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ) ๗
เหล่านี้ และ อายตนะ ๒ มีอยู่.
วิญญาณฐิติ ๗ เหล่าไหนเล่า ?
วิญญาณฐิติ ๗ คือ :-
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย (สตฺตา) มีกายต่างกัน
มีสัญญาต่างกันมีอยู่ได้แก่ มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวก
และวินิบาตบางพวก นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๑.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญา
อย่างเดียวกัน มีอยู่ ได้แก่ พวกเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม
ที่บังเกิดโดยปฐมภูมิ (ปฐมานิพฺพตฺตา) นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๒.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาต่างกัน มีอยู่ ได้แก่ พวกเทพอาภัสสระ นี้คือ
วิญญาณฐิติที่ ๓.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาอย่างเดียวกัน มีอยู่ได้แก่ พวกเทพสุภกิณหะ นี้คือ
วิญญาณฐิติที่ ๔.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง
รูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง
ปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสา-
นัญจายตนะ มีการทำในใจว่า “อากาศไมมี่ที่สุด” ดังนี้ มีอยู่
นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๕.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญา-
ณัญจายตนะ มีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้
มีอยู่ นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๖.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง
วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญ-
จัญญายตนะ มีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้ มีอยู่
นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๗.

ส่วน อายตนะ ๒ นั้น คือ
อสัญญีสัตตายตนะที่ ๑
เนวสัญญานาสัญญายตนะที่ ๒


อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒
(รวมเป็น ๙) นั้น วิญญาณฐิติที่ ๑ อันใด มีอยู่ คือ สัตว์
ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่ มนุษย์ทั้งหลาย
เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก.

อานนท์ ! ผู้ใดรู้ชัดวิญญาณฐิติที่ ๑ นั้น
รู้ชัดการเกิด (สมุทัย) แห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดความดับ (อัตถังคมะ)แห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดรสอร่อย (อัสสาทะ) แห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดโทษต่ำทราม (อาทีนวะ) แห่งสิ่งนั้น
และรู้ชัดอุบายเป็น เครื่องออกไปพ้น (นิสสรณะ) แห่งสิ่งนั้น
ดังนี้แล้ว ควรหรือหนอที่ผู้นั้น
จะเพลิดเพลินยิ่งซึ่งวิญญาณฐิติที่ ๑ นั้น ?
ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !

(ในกรณีแห่ง วิญญาณฐิติที่ ๒ วิญญาณฐิติที่ ๓ วิญญานฐิติที่ ๔ วิญญาณฐิติที่ ๕ วิญญาณฐิติที่ ๖ วิญญาณฐิติที่ ๗ และ
อสัญญีสัตตายตนะที่ ๑ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะดังที่กล่าวแล้วข้างต้น
ก็ได้มีการอธิบาย ตรัสถาม และทูลตอบ โดยข้อความทำนองเดียวกัน
กับในกรณีแห่งวิญญาณฐิติที่ ๑ นั้น ทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อแห่ง
สภาพธรรมนั้นๆ เท่านั้น ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนะที่ ๒ นั้น
จะได้บรรยายด้วยข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ :-)


อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒
(รวมเป็น ๙) นั้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ความหมายรู้ว่า
มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่) อันใด มีอยู่.

อานนท์์ ! ผู้ใดรู้ชัดเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
รู้ชัดการเกิดแห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดการดับแห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดรสอร่อยแห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดโทษอันต่ำทรามแห่งสิ่งนั้น
และรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องออกแห่งสิ่งนั้น
ดังนี้แล้ว ควรหรือหนอ
ที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ?

ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! เมื่อใดแล ภิกษุรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง
ซึ่งการเกิด การดับ รสอร่อย โทษอันต่ำทราม และอุบายเป็น
เครื่องออกแห่ง วิญญาณฐิติ ๗ เหล่า นี้ และแห่ง อายตนะ ๒
เหล่า นี้ด้วยแล้ว เป็น ผู้หลุดพ้น เพราะความไมยึ่ดมั่น.
อานนท์ ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุติ
มหา. ที. ๑๐/๘๑-๘๓/๖๕.

_____________________
ปฐมภูมิ : ภูมิเบื้องต้น สามารถเข้าถึงได้หลายทาง เช่น ผู้ได้ปฐมฌาน,
ผู้เจริญเมตตา, ผู้กระทำกุศลกรรมบท ๑๐, ผู้ประกอบพร้อมด้วย ศรัทธา
ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เป็นต้น.
วิญญาณฐิติที่ ๒:ในไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เฉพาะในสูตรนี้ วิญญาณฐิติที่ ๒ จะพบว่ามีคำว่า
อบายทั้ง ๔ อยู่เพียงตำแหน่งเดียวที่เป็นพุทธวจน แต่ไม่ตรงกับสูตรอื่น
ที่กล่าวถึงวิญญาณฐิติ ๗ (คือใน ๒ สูตรของพระสารีบุตรที่พระพุทธเจ้ารับรอง ๑ สูตร
และพระสารีบุตรทรงจำเอง ๑ สูตร) และไม่ตรงกับไตรปิฎกฉบับภาษามอญและ
ภาษายุโรป ดังนั้น คำว่า อบายทั้ง ๔ จึงไม่ได้นำมาใส่ในที่นี้.
รูปสัญญา : ความหมายรู้ในรูป.
ปฏิฆสัญญา : ความหมายรู้อันไม่น่ายินดีในส่วนรูป. 
นานัตตสัญญา : ความหมายรู้อันมีประการต่างๆ ในส่วนรูป.

พุทธวจน ภพภูมิ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่

ภิกษุทั้งหลาย !
ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่
ย่อมดำริ(ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่
และย่อมมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ)ในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มีอยู่
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย !
ถ้าบุคคลย่อมไม่คิด (โน เจเตติ) ถึงสิ่งใด
ย่อมไม่ดำริ(โน ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใด
แต่เขายังมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์ มีอยู่ความตั้งขึ้นเฉพาะแหง่ วิญญาณย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่ง ภพใหม่ต่อไป ย่อมมี
เมี่อความเกิดขึ้นแหง่ภพใหม่ต่อไป มีอยู่
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพรอ้ ม
แหง่ กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย
ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย
และย่อมไม่มีจิตฝัง ลงไป (โน อนุเสติ) ในสิ่งใดด้วย
ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์
เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย
เมื่ออารมณ์ไม่มีความตั้งขึ้นเฉพาะแห่ง วิญญาณ ย่อมไม่มี
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ไม่มี
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.

นิทาน. สํ. ๑๖/๗๘/๑๔๕.

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา

... เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขา
ให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังกล่าวเดรัจฉานกถาเห็น
ปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย ์
เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่อง
ผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่อง
ยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท
เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ
เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล
เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ.
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
 -บาลี สี. ที. ๙/๘๗/๑๑๐.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย จงอย่ากล่าว
เดรัจฉานกถา
เห็นปานนี้ คือ
พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร
เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่อง
ข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม
เรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร
เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ
เพราะเหตุไรจึงไม่ควรกล่าว เพราะการกล่าวนั้นๆ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อม
เพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ
ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพานเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพวกเธอจะกล่าว จงกล่าวว่า
“เช่นนี้ๆ เป็นทุกข์
เช่นนี้ๆ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
เช่นนี้ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
และเช่นนี้ๆ เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้
เพราะเหตุไรจึงควรกล่าว
เพราะการกล่าวนั้นๆ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์
เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์
เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด
ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อมและนิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอ
พึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า
“นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๖/๑๖๖๓.

พระพุทธเจ้า เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือ
พราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ท่านเหล่านั้นยังกล่าวเดรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ
พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ
เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน
เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะ
เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี
เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้้ำ เรื่อง
คนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล
เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ.
ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากเดรัจฉานกถาเห็นปานนี้
เสียแล้ว เมื่อปุถุชนจะกล่าวสรรเสริญตถาคต 
พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.
-บาลี สี. ที. ๙/๑๐/๑๕.

อะไรคือเดรัจฉานกถา

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย จงอย่ากล่าว
เดรัจฉานกถา
เห็นปานนี้ คือ
พูดเรื่องพระราชา
เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ
เรื่องภัย เรื่องการรบ  เรื่องข้าว
เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน
เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอมเรื่องญาติ
เรื่องยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน
เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท
เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะถ้อยคำนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์
ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย
ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง
ความรู้พร้อม และนิพพานเลย.

 -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๖/๑๖๖๓.

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผู้ให้ข้าวยาคู ก็ชื่อว่าให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาน

พราหมณ์ ! ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่าง ๑๐ อย่าง
เป็นอย่างไร คือ ผู้ให้ข้าวยาคู
ชื่อว่าให้อายุ 
ให้วรรณะ 
ให้สุข 
ให้กำลัง 
ให้ปฏิภาณ
ข้าวยาคูที่ดื่มแล้วกำจัดความหิว
บรรเทาความระหาย
ทำลมให้เดินคล่อง 

ล้างลำไส้
ย่อยอาหารที่เหลืออยู่.

พราหมณ์ ! เหล่านี้แล คือคุณของข้าวยาคู ๑๐ อย่าง.
จากนั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำอนุโมทนา ดังนี้
ทายกใดถวายข้าวยาคูโดยเคารพตามกาลแก่ปฏิคาหก
ผู้สำรวมแล้ว ผู้บริโภคโภชนะอันผู้อื่นถวาย ทายกนั้นชื่อว่า
ตามเพิ่มให้ซึ่งสถานะ ๑๐ อย่างแก่ปฏิคาหกนั้น
คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ
ย่อมเกิดแก่ปฏิคาหกนั้น
แต่นั้นข้าวยาคูย่อมกำจัดความหิว ความระหาย
ทำลมให้เดินคล่อง ล้างลำไส้ และย่อยอาหาร ข้าวยาคูนั้น
พระสุคตตรัสสรรเสริญว่าเป็นเภสัช
เพราะเหตุนั้นแล มนุษย์ชนที่ต้องการสุขเป็นนิจ
ปรารถนาสุขที่เลิศ หรืออยากได้ความงามอันเพริศพริ้งใน
มนุษย์ จึงควรแท้เพื่อถวายข้าวยาคู.
-บาลี มหา. วิ. ๕/๗๖/๖๑.

ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาน

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ
ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ ๔ อย่างแก่ปฏิคาหก
๔ อย่างเป็นอย่างไร คือ
ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ
ครั้นให้อายุแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอายุอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้วรรณะแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้สุขแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุขอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้พละแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งพละอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ
ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ ๔ อย่างนี้แลแก่ปฏิคาหก.

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ผู้ใดย่อมให้โภชนะโดยเคารพ ตามกาลอันควร
แก่ท่านผู้สำรวม บริโภคโภชนะที่ผู้อื่นให้เป็นอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าให้
ฐานะทั้ง ๔ อย่าง คือ อายุ วรรณะ สุขะ และพละ
ผู้มีปกติให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ จะเกิดในที่ใดๆ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้นๆ.
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๔/๕๙.


ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่าง
แก่ปฏิคาหก ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ
ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุข ให้กำลัง ให้ปฏิภาณ
ครั้นให้อายุแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง อายุอัน เป็น ทิพย์ หรือ เป็น ของมนษุย์
ครั้น ให้วรรณะแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้สุขแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุขอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้กำลังแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งกำลังอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งปฏิภาณอันเป็นเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ
ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ ๕ อย่างนี้แลแก่ปฏิคาหก.

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ผู้มีปัญญา ให้อายุย่อมได้อายุ ให้กำลังย่อมได้กำลัง
ให้วรรณะย่อมได้วรรณะ ให้ปฏิภาณย่อมได้ปฏิภาณ ให้สุข
ย่อมได้สุข ครั้นให้อายุ กำลัง วรรณะ สุข และปฏิภาณแล้ว
จะเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้นๆ .
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๔๔/๓๗.

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หลักดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุขในเวลาถัดต่อมา

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธ ร ร ม ๔ ป ร ะ ก า ร เ ห ล่า นี้
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขของกุลบุตร
ในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา
) ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?
๔ ประการคือ :-
สัทธาสัมปทา    (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
สีลสัมปทา    (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
จาคสัมปทา    (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)
ปัญญาสัมปทา    (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)

พ๎ยัคฆปัชชะ ! สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา
เชื่อในการตรัสรู้ของตถาคตว่า
“เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้
เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน
เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท
เป็นผู้เว้นขาดจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า สีลสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน อยู่ครองเรือน
มีจาคะอันปล่อยอยู่เป็นประจำ 
มีฝ่ามืออันชุ่มเป็นปกติ ยินดีแล้วในการสละ
ควรแก่การขอ ยินดีแล้วในการจำแนกทาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

พยัคฆปัชชะ !
ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้
เป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับ
เป็นเครื่องไปจากข้าศึก
เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส
เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า ปัญญาสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล
เป็นธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ของกุลบุตร ในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา).

อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙-๒๙๓/๑๔๔.


หลักการดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุขในวันนี้

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พวกข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์
บริโภคกาม แออัดอยู่ด้วยบุตร ครองเรือน ใช้สอยกระแจะจันทน์
จากแคว้นกาสี ทัดทรงพวงดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ยินดีทอง
และเงินอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคจงทรง
แสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งใน
ทิฏฐธรรม (ในปัจจุบัน) และในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา)
แก่พวกข้าพระองค์ผู้อยู่ในสถานะเช่นนี้เถิด พระเจ้าข้า !”.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่กุลบุตร
ในทิฏฐธรรม (ในปัจจุบัน). ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?
๔ ประการ คือ :-
อุฏฐานสัมปทา (ความขยันในอาชีพ)
อารักขสัมปทา (การรักษาทรัพย์)
กัลยาณมิตตตา (ความมีมิตรดี)
สมชีวิตา (การเลี้ยงชีวิตอย่างสมดุลย์พอเพียงแก่ฐานะ).

ความขยันในอาชีพ
พ๎ยัคฆปัชชะ !
อุฏฐานสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ สำเร็จการ
เป็นอยู่ด้วยการลุกขึ้นกระทำการงาน คือด้วยกสิกรรม หรือ
วานิชกรรม โครักขกรรม อาชีพผู้ถืออาวุธ อาชีพราชบุรุษ
หรือด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง. ในอาชีพนั้นๆ เขาเป็น
ผู้เชี่ยวชาญ ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยการสอดส่องใน
อุบายนั้นๆ สามารถกระทำ สามารถจัดให้กระทำ.
พ๎ยัคฆปัชชะ !
นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา (ความขยันในอาชีพ).

การรักษาทรัพย์
พ๎ยัคฆปัชชะ !
อารักขสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้, โภคะ
อันกุลบุตรหาได้มาด้วยความเพียรเป็นเครื่องลุกขึ้น
รวบรวมมาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์
ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม, เขารักษาคุ้มครอง
อย่างเต็มที่ ด้วยหวังว่า “อย่างไรเสียพระราชาจะไม่ริบทรัพย์
ของเราไป โจรจะไม่ปล้นเอาไป ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่พัด
พาไป ทายาทอันไม่รักใคร่เรา จะไม่ยื้อแย่งเอาไป” ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ !
นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา (การรักษาทรัพย์).

ความมีมิตรดี
พ๎ยัคฆปัชชะ !
กัลยาณมิตตตา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ อยู่อาศัยใน
บ้านหรือนิคมใด, ถ้ามีบุคคลใดๆ ในบ้านหรือนิคมนั้น
เป็นคหบดีหรือบุตรคหบดีก็ดี เป็นคนหนุ่มที่เจริญด้วยศีล
หรือเป็นคนแก่ที่เจริญด้วยศีลก็ดี ล้วนแต่ถึงพร้อมด้วย
ศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ ถึงพร้อมด้วย
ปัญญาอยู่แล้วไซร้, กุลบุตรนั้นก็ดำรงตนร่วม พูดจาร่วม
สากัจฉา (สนทนา) ร่วมกับชนเหล่านั้น.
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยสัทธาโดย
อนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยสัทธา
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยศีลโดย
อนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยจาคะโดย
อนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยปัญญาโดย
อนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอยู่ในที่นั้นๆ.
พ๎ยัคฆปัชชะ !
นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา (ความมีมิตรดี).

การเลี้ยงชีวิตอย่างสมดุลย์พอเพียงแก่ฐานะ
พ๎ยัคฆปัชชะ ! สมชีวิตา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ รู้จักความ
ได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์แล้ว
ดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก
โดยมีหลักว่า
“รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่าย
ของเราจักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! เปรียบเหมือนคนถือตาชั่งหรือ
ลูกมือของเขา ยกตาชั่งขึ้นแล้ว ก็รู้ว่า
“ยังขาดอยู่เท่านี้หรือเกินไปแล้วเท่านี้” ดังนี้ฉันใด; กุลบุตรนี้ ก็ฉันนั้น :
เขารู้จักความได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่ง
โภคทรัพย์ แล้วดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ฝืดเคืองนัก โดยมีหลักว่า
“รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้

ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! ถ้ากุลบุตรนี้ เป็นผู้มีรายได้น้อย
แต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือยแล้วไซร้ ก็จะมีผู้กล่าว
ว่า กุลบุตรนี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ (อย่างสุรุ่ยสุร่าย) เหมือน
คนกินผลมะเดื่อ ฉันใดก็ฉันนั้น.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! แต่ถ้ากุลบุตร เป็นผู้มีรายได้
มหาศาล แต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นแล้วไซร้
ก็จะมีผู้กล่าวว่า กุลบุตรนี้จักตายอดตายอยากอย่าง
คนอนาถา.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! เมื่อใด กุลบุตรนี้ รู้จักความได้มา
แห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์ แล้วดำรง
ชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก
โดยมีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่าย
ของเรา จักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้;
พ๎ยัคฆปัชชะ !
นี้เราเรียกว่า สมชีวิตา
(การเลี้ยงชีวิตอย่างสมดุลย์พอเพียงแก่ฐานะ).

อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙/๑๔๔.

พุทธวจน อารักขสัมปทา

พุทธวจน อุฎฐานสัมปทา

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการทำเดรัจฉานวิชา

มหาราช ! อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์
บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น
ยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ทำนายอวัยวะ ทำนายตำหนิ ทำนายลางดีลางร้าย ทำนายฝัน
ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่น
เวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธี
ซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน􀄘้ำมันบูชา
ไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดู
อวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก
เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู
เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด
เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ
เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์.
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะ
แก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะ
ศัสตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู
ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทาย
ลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทาย
ลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะ
กระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะ
แพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนก
กระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า
ทายลักษณะมฤค.
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่งเมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า
พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายในจัก
ยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอก
จักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายใน
จักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจัก
มีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาพระองค์นี้จักมีชัย
พระราชาพระองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ.
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่าจัก
มีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์จักโคจรถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักโคจรผิด
ทาง ดาวนักษัตรจักโคจรถูกทาง ดาวนักษัตรจักโคจรผิดทาง
จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตร จักขึ้น จักตก จักมัวหมอง
จักกระจ่าง จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราส
จักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวง
จันทร์ดวงอาทิตย์โคจรถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
เป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตร
ขึ้น ตก มัวหมอง กระจ่าง จักมีผลเป็นอย่างนี้.
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็
เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่า
จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีอาหารหาได้ง่าย จักมีอาหาร
หาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความ
สำราญหาโรคมิได้ หรือคำนวณฤกษ์ยาม คำนวณดวงชะตา
จับยาม แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์.
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาห
มงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง
ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย
ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง
ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรง
กระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวง
พระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธี
เชิญขวัญ.
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน
ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน
ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธี
ปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์
ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาแก้ลมตีขึ้น
เบื้องบน ปรุงยาแก้ลมตีลงเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ
หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทาให้กัด
ปรุงยาทาให้สมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา
ชะแผล.
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็น
ศีลของเธอประการหนึ่ง.

มหาราช ! ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่
ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะสีลสังวรนั้นเปรียบเหมือน
กษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่
ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น.
มหาราช ! ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้
แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะสีลสังวรนั้น ภิกษุ
สมบรูณ์ด้วยอริยสีลขันธ์นี้ ย่อมไม่ได้เสวยสุข อันปราศจากโทษ
ในภายใน.
มหาราช ! ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.

-บาลี สามัญผลสูตร สี. ที. ๙/๘๙-๙๒/๑๑๔-๑๒๑.
_______
มุรธาภิเษก= นํ้ารดพระเศียรในงานราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่นๆ


นอกจากพรหมชาลสูตรและสามัญญผลสูตรที่มีการกล่าวถึง
การห้ามทำ เดรัจฉานวิชาแล้ว ยังมีปรากฏอยู่ในสูตรอื่นอีก คือ
อัมพัฏฐสูตร ตรัสกับ อัมพัฏฐมาณพ (-บาลี สี. ที. ๙/๑๒๙/๑๖๓.),
โสณทัณฑสูตร ตรัสกับ โสณทัณฑพราหมณ์ (-บาลี สี. ที. ๙/๑๕๙/๑๙๕.),
กูฏทันตสูตร ตรัสกับ กูฏทันตพราหมณ์ (-บาลี สี. ที. ๙/๑๘๘/๒๓๕.),
มหาลิสูตร ตรัสกับ เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวี (-บาลี สี. ที. ๙/๒๐๑/๒๕๕.),
ชาลิยสูตร ตรัสกับ มัณฑิยปริพาชกและชาลิยปริพาชก (-บาลี สี. ที. ๙/๒๐๓/๒๕๖.),
มหาสีหนาทสูตร ตรัสกับ อเจลกัสสปะ (-บาลี สี. ที. ๙/๒๑๘/๒๗๐.),
โปฏฐปาทสูตร ตรัสกับ โปฏฐปาทปริพาชก (-บาลี สี. ที. ๙/๒๒๖/๒๗๙.),
สุภสูตร พระอานนท์กล่าวกับ สุภมาณพโตเทยบุตร (-บาลี สี. ที. ๙/๒๕๔ /๓๑๙.),
เกวัฏฏสูตร ตรัสกับ เกวัฏฏะ (ชาวประมง) (-บาลี สี. ที. ๙/๒๗๖/๓๔๒.),
โลหิจจสูตร ตรัสกับ โลหิจจพราหมณ์ (-บาลี สี. ที. ๙/๒๙๓/๓๖๓.),
เตวิชชสูตร ตรัสกับ วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ (-บาลี สี. ที. ๙/๓๑๐/๓๘๓.).

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อานิสงส์แห่งการให้ทาน

ภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการ
นี้มีอยู่ ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(1) ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก
(2) สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน
(3) กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรทั่วไป
(4) ผู้ให้ทานย่อมไม่เหินห่างจากธรรมของคฤหัสถ์
(5) ผู้ให้ทานเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล อานิสงส์แห่งการให้ทาน
๕ ประการ.
ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก
ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ
สัปบุรุษผู้สงบ ผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์
ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ
สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา
เขาได้ทราบชัดแล้ว
 ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ ปรินิพพานในโลกนี้.

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๔๓/๓๕

ผลแห่งทานในปัจจุบันและสัมปรายะ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคทรงสามารถบัญญัติ
ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบันหรือหนอ.
สามารถ สีหะ !
สีหะ ! ทายกผู้เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก
แม้ข้อนี้เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง.
อีกประการหนึ่ง สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาทายกผู้เป็นทานบดี
แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง.
อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของทายกผู้เป็นทานบดีย่อมขจร
แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง.
อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดี จะเข้าไปสู่ที่ประชุมใดๆ
คือที่ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี สมณะ

ก็ย่อมเป็นผู้องอาจไม่เก้อเขินเข้าไป
แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง.

อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดี เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงได้ในสัมปรายะ.

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๔๑/๓๔.

พระพุทธเจ้าเว้นขาดจากการทำเดรัจฉานวิชา

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือ
พราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่าน
เหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็น
ปานนี้ คือ ทำนายอวัยวะ ทำนายตำหนิ ทำนายลางดีลางร้าย
ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ
ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธี
ซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ
ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรม
ด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา
เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกัน
บ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง
เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอ
ทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็น
หมอทายเสียงสัตว์.
ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชน
จะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะ
แก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะ
ศัสตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู
ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทาย
ลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทาย
ลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะ
กระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทายลักษณะ
แพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนก
กระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า
ทายลักษณะมฤค.
ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชน
จะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่งเมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า
พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายใน
จักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอก
จักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายใน
จักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจัก
มีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาพระองค์นี้จักมีชัย
พระราชาพระองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ.
ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชน
จะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่าจัก
มีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์จักโคจรถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักโคจรผิด
ทาง ดาวนักษัตรจักโคจรถูกทาง ดาวนักษัตรจักโคจรผิดทาง
จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตร จักขึ้น จักตก จักมัวหมอง
จักกระจ่าง จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราส
จักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวง
จันทร์ดวงอาทิตย์โคจรถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์โคจรผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตร
โคจรถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรโคจรผิดทางจัก
มีผลเป็นอย่างนี้ มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหาง
จักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้อง
จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตร
ขึ้น ตก มัวหมอง กระจ่าง จักมีผลเป็นอย่างนี้.
ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีพด้วยเดรัจฉาน
วิชาเห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชน
จะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำนายว่า
จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีอาหารหาได้ง่าย จักมีอาหาร
หาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความ
สำราญหาโรคมิได้ หรือคำนวณฤกษ์ยาม คำนวณดวงชะตา
จับยาม แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์.
ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชน
จะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาห
มงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง
ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย
ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง
ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรง
กระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวง
พระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธี
เชิญขวัญ.
ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชน
จะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉัน
โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเลี้ยงชีวิต
โดยมิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน
ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน
ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธี
ปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์
ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาแก้ลมตีขึ้น
เบื้องบน ปรุงยาแก้ลมตีลงเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ
หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทาให้กัด
ปรุงยาทาให้สมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา
ชะแผล.
ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตโดย
มิจฉาชีพด้วยเดรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้เสียแล้ว เมื่อปุถุชน
จะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่ปุถุชนกล่าวสรรเสริญตถาคต
จะพึงกล่าวด้วยประการใด ซึ่งมีประมาณน้อย ยังต่ำนัก
เป็นเพียงศีลนั้นเท่านี้แล.

-บาลี พรหมชาลสูตร สี. ที. ๙/๑๑-๑๕/๑๙-๒๕.


วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จาคะ (การบริจาค) เป็นอย่างไร

คหบดี ! ก็จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)
เป็นอย่างไร
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  
มีใจปราศจากมลทินคือ ความตระหนี่  อยู่ครองเรือน
มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ
มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ
ยินดีในการให้และการแบ่งปัน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๕/๖๑.

ทาน (การให้) เป็นอย่างไร

มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตามบุรุษก็ตาม
 ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป
โคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์


เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้
หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง
จะเป็นคนมีโภคทรัพย์มาก.

 -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๓๗๖/๕๗๙.