วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บทสวดระลึกถึงพระพุทธเจ้า

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปัชชะติ
ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้

อะระหัง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทโธ
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

สุคะโต
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

โลกะวิทู
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึก อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

สัตถา เทวะมะนุสสานัง
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พุทโธ
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม

ภะคะวา
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

โส อิมัง โลกัง
ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้

สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพ๎รัห๎มะกัง๎ สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิง
กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง
เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์

สะยัง อภิญญา
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว

สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทสิ
สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม

โส ธัมมัง เทเสสิ
ตถาคตนั้นแสดงธรรม

อาทิกัล๎ยาณัง
ไพเราะในเบื้องต้น

มัชเฌกัล๎ยาณัง
ไพเราะในท่ามกลาง

ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง
ไพเราะในที่สุด

สาตถัง สะพ๎ยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พ๎รัห๎มะจะริยัง ปะกาเสติ
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ดังนี้

    -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๗/๑๖.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น