วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น

ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่ง มีอยู่หรือไม่หนอ ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้นพระเจ้าข้า ?”.
ภิกษุ !  ธรรมอย่างหนึ่ง มีอยู่แล ...ฯลฯ...
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  ธรรมอย่างหนึ่ง นั้นคืออะไรเล่าหนอ ...ฯลฯ...?”
ภิกษุ !  อวิชชานั่นแล  เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว
อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น.
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร
อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?”.


ภิกษุ !  หลักธรรมอันภิกษุในกรณีนี้ได้สดับแล้ว ย่อมมีอยู่ว่า
“สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น (ว่าเป็นตัวเรา-ของเรา)
(สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย)” ดังนี้.
ภิกษุ !  ถ้าภิกษุได้สดับหลักธรรมข้อนั้นอย่างนี้ว่า
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง
อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่
น ดังนี้แล้ว ไซร้,
ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง;
ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว, 
ย่อมรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง;
ครั้นรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว,
ภิกษุนั้น ย่อมเห็นซึ่ง นิมิตทั้งหลายของสิ่งทั้งปวง
โดยประการอื่น : 
ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ โดยประการอื่น; 
ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย โดยประการอื่น;
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยประการอื่น;
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส โดยประการอื่น;
ย่อมเห็นซึ่งเวทนาอันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยประการอื่น.

    (ในกรณีแห่งโสตะก็ดี ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายะก็ดี มโนก็ดี และธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตต์

ด้วยโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมโน นั้นๆ ก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มีนัย อย่างเดียวกันกับใน

กรณีแห่งการเห็นจักษุ และธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตต์ด้วยจักษุ).

ภิกษุ !  เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล
อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น.

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๖๒/๙๖.

พุทธวจน มรรควิธีที่ง่าย

พุทธวจน มรรควิธีที่ง่าย

1 ความคิดเห็น: