ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี่.
ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี่.
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ (วิญญาณ) ทางตา
สิ่งที่ทำหน้าที่รู้ทางหู...ทางจมูก...ทางลิ้น...ทางกาย...ทางใจ.
ผัสสะทางตา ผัสสะทางหู ผัสสะทางจมูก ผัสสะทางลิ้น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ.
เวทนาจากผัสสะทางตา เวทนาจากผัสสะทางหู...ทางจมูก...ทางลิ้น...ทางกาย...ทางใจ.
การหมายรู้ (สัญญา) เกี่ยวกับรูป การหมายรู้เกี่ยวกับเสียง...กลิ่น...รส...กายสัมผัส...ธรรมารมณ์.
เจตนาในการหมายรู้ (สัญเจตนา) เกี่ยวกับรูป...เกี่ยวกับเสียง...กลิ่น...รส...กายสัมผัส...ธรรมารมณ์.
การตรึก (วิตก) ที่เป็นไปทางรูป การตรึกที่เป็นไปทางเสียง...กลิ่น...รส...กายสัมผัส...ธรรมารมณ์.
การตรอง (วิจาร) ที่เป็นไปทางรูป การตรองที่เป็นไปทางเสียง...กลิ่น...รส...กายสัมผัส...ธรรมารมณ์.
ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่นตัณหาในรส ตัณหาในกายสัมผัส ตัณหาในธรรมารมณ์.
(แต่ละอย่าง ๆ เหล่านี้)
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก.
ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี่.
ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้
เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี่.
มหา. ที. ๑๐/ ๒๙๗ – ๒๙๘.