วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

น้ำตา ที่เคยหลั่งไหล

ภิกษุทั้งหลาย !  สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร
น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่
เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ
โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! 
พวกข้าพระองค์ย่อมทราบธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า
 น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระองค์
ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่
เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจ
เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้แหละ
มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.

ภิกษุทั้งหลาย !  สาธุ สาธุ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว
น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา ...
โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดา ตลอดกาลนาน 
น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ
ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่
เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละ
มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย

...พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา ...
ของพี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ...
ความเสื่อมแห่งญาติ ... ความเสื่อมแห่งโภคะ ...
...พวกเธอได้ประสบความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน

น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น
ผู้ประสบความเสื่อมเพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่
เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ
นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.
   ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเหตุว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน
ความพินาศได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! 
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง
พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

-บาลี นิทาน. สํ. ๑๖/๒๑๓/๔๒๕


วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เหตุที่ทำให้ทรงพระนามว่า “ตถาคต”

ภิกษุทั้งหลาย !  โลกเป็นสภาพที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว
ตถาคตจึงเป็นผู้ถอนตนจากโลกได้แล้ว.
เหตุให้เกิดโลก เป็นสภาพที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว
ตถาคตจึงละเหตุให้เกิดโลกได้แล้ว.
ความดับไม่เหลือของโลกเป็นสภาพที่ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว
ตถาคตจึงทำให้แจ้งความดับไม่เหลือของโลกได้แล้ว.
ทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลก เป็นสิ่งที่ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว
ตถาคตจึงทำให้เกิดมีขึ้นได้แล้ว ซึ่งทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลกนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย !  อายตนะอันใด ที่พวกมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก มาร, พรหม,
ที่หมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
ได้เห็นได้ฟัง ได้ดม-ลิ้ม-สัมผัส ได้รู้แจ้ง ได้บรรลุ
ได้แสวงหา ได้เที่ยวผูกพันติดตามโดยน้ำใจ,
อายตนะนั้น ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้วทั้งสิ้น
เพราะเหตุนั้น จึงได้นามว่า “ตถาคต”.

ภิกษุทั้งหลาย !  ในราตรีใด ตถาคตได้ตรัสรู้ และในราตรีใด ตถาคตปรินิพพาน,
ในระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอบ พร่ำสอน แสดงออกซึ่งคำใด,
คำนั้นทั้งหมด ย่อมมีโดยประการเดียวกันทั้งสิ้น ไม่แปลกกันโดยประการอื่น,
เพราะเหตุนั้น จึงได้นามว่า “ตถาคต”.

ภิกษุทั้งหลาย !  ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มาร, พรหม,
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
ตถาคตเป็นผู้เป็นยิ่ง ไม่มีใครครอบงำ เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวงโดยเด็ดขาด
เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด (โดยธรรม) แต่ผู้เดียว,
เพราะเหตุนั้น จึงได้นามว่า “ตถาคต”.

บาลี  จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๐/๒๓, อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.


พุทธวจน ตถาคต

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กระจายซึ่งผัสสะ

ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรมสองอย่าง. สองอย่างอะไรเล่า ?  สองอย่าง คือ
    ภิกษุทั้งหลาย !  เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จักขุวิญญาณ จึงเกิดขึ้น.
จักษุ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
รูปทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :
ธรรมทั้งสองอย่างนี้แล เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วยไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
จักขุวิญญาณ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
    เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ,
แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
    ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้
จักขุวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย (จักษุ+รูป+จักขุวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้ อันใดแล;
    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่าจักขุสัมผัส.
    ภิกษุทั้งหลาย ! แม้จักขุสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส,
แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
    ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้วเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

    (ในกรณีแห่งโสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ, ก็มีนัยเดียวกัน).

    ภิกษุทั้งหลาย !  เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น.
มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :
ธรรมทั้งสองอย่างนี้แล เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วยไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
มโนวิญญาณ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ,
แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
    ภิกษุทั้งหลาย ! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้วเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
    ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม ความมาพร้อมกัน แห่งธรรมทั้งหลาย (มโน+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้อันใดแล;
    ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.
    ภิกษุทั้งหลาย ! แม้มโนสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
    เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส,
แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ภิกษุทั้งหลาย ! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้วเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
    ภิกษุทั้งหลาย !  บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด (เจเตติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ) :
แม้ธรรมทั้งหลายอย่างนี้เหล่านี้ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๘๕/๑๒๔.




วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กระจายเสีย ซึ่งผัสสะ

ภิกษุทั้งหลาย !  วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรม ๒ อย่าง. 
สองอย่างอะไรเล่า ?  สองอย่างคือ :-
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัย
ซึ่ง จักษุ ด้วย
ซึ่ง รูปทั้งหลาย ด้วย 
จักขุวิญญาณ จึงเกิดขึ้น. 
จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
รูปทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :
ธรรมทั้งสอง (จักษุ+รูป) อย่างนี้แล
เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
จักขุวิญญาณ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น; 
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ,
แม้ เหตุ อันนั้น แม้ ปัจจัย อันนั้น
ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
 
ภิกษุทั้งหลาย !  จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ 
จักขุวิญญาณจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม
ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย (จักษุ+รูป+จักขุวิญญาณ)
๓ อย่าง เหล่านี้ อันใดแล;
 ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า จักขุสัมผัส.
 
ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ จักขุสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส,
แม้ เหตุ อันนั้น แม้ ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย !  จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ 
จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยง  มาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อม คิด (เจเตติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อม จำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ) :

แม้ธรรมทั้งหลาย (เวทนา, เจตนา, สัญญา)
อย่างนี้เหล่านี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
...
(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณก็ดี, ฆานวิญญาณก็ดี, ชิวหาวิญญาณก็ดี, กายวิญญาณก็ดี, ก็มีนัยเดียวกัน).
...
    ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะอาศัยซึ่ง มโนด้วย
ซึ่ง ธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย
มโนวิญญาณ จึงเกิดขึ้น.
มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน  มีความเป็นไปโดยประการอื่น :
ธรรมทั้งสอง (มโน+ธรรมารมณ์) อย่างนี้แล
เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น; 
มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ,
แม้ เหตุ อันนั้น แม้ ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
 
ภิกษุทั้งหลาย !  มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ 
มโนวิญญาณจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม
ความประชุมพร้อม
ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย (มโน+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาณ)
๓ อย่าง เหล่านี้ อันใดแล; 
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย !  แม้มโนสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน  มีความเป็นไปโดยประการอื่น. 
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส,
แม้ เหตุ อันนั้น แม้ ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น. 
ภิกษุทั้งหลาย ! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้
มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อม รู้สึก (เวเทติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อม คิด (เจเตติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อม จำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ) :

แม้ธรรมทั้งหลาย (เวทนา, เจตนา, สัญญา) อย่างนี้เหล่านี้
ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๘๕/๑๒๔.



วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

ความเป็นโสดาบัน ประเสริฐกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

ภิกษุทั้งหลาย !  แม้พระเจ้าจักรพรรดิ
ได้ครองความเป็นใหญ่ยิ่งแห่งทวีปทั้งสี่
เบื้องหน้าจากการตายเพราะการแตกทำลายแห่งกาย
อาจได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายอยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถูกแวดล้อมอยู่ด้วยหมู่นางอัปษรในสวนนันทวัน
ท้าวเธอเป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า
อันเป็นของทิพย์ อย่างนี้ก็ตาม,
แต่กระนั้นท้าวเธอก็ยัง รอดพ้นไปไม่ได้ จากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต และจากอบาย ทุคติ วินิบาต.
ภิกษุทั้งหลาย !  ส่วนอริยสาวกในธรรมวินัยนี้
แม้เป็นผู้ยังอัตตภาพให้พอเป็นไปด้วยคำข้าว
ที่ได้มาจากบิณฑบาตด้วยปลีแข้งของตนเอง
พันกายด้วยการนุ่งห่มผ้าปอนๆ ไม่มีชาย,
หากแต่ว่าเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว 
ด้วยธรรม ๔ ประการ
เธอก็ยังสามารถ รอดพ้นเสียได้จากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน
จากวิสัยแห่งเปรต และจากอบาย ทุคติ วินิบาต.
ภิกษุทั้งหลาย !  ธรรม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน ? ๔ ประการ คือ :-
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น  ไม่หวั่นไหว ...
ในองค์พระพุทธเจ้า ...
ในองค์พระธรรม  ...
ในองค์พระสงฆ์  ...
เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลาย
ชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า ฯลฯ
ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย !  ระหว่างการได้ทวีปทั้งสี่
กับการได้ธรรม ๔ ประการนี้นั้น
การได้ทวีปทั้งสี่มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่สิบหก
ของการได้ธรรม ๔ ประการนี้ เลย.

-บาลี  มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๘/๑๔๑๑.


เหตุสำเร็จความปรารถนา

ภิกษุทั้งหลาย !  เราจักแสดงเหตุสำเร็จความปรารถนาแก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังเหตุสำเร็จความปรารถนานั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา
เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว
พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด”
ดังนี้ ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น
อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย !  นี้มรรค นี้ปฏิปทา
เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล.


ภิกษุทั้งหลาย !  ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา
เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว
พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาลเถิด”
ดังนี้ ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น
อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย !  นี้มรรค นี้ปฏิปทา
เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล.


ภิกษุทั้งหลาย !  ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา
เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
“โอหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว
พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคหบดีมหาศาลเถิด”
ดังนี้ ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น
อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย !  นี้มรรค นี้ปฏิปทา
เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งคหบดีมหาศาล.

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๑๗/๓๑๘.



วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

ทานของคนดี (นัยที่ ๒)

ภิกษุทั้งหลาย !  สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้มีอยู่
๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) ย่อมให้ทานด้วยศรัทธา
(๒) ย่อมให้ทานโดยเคารพ
(๓) ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร
(๔) เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน
(๕) ย่อมให้ทานไม่กระทบตนและไม่กระทบผู้อื่น

ภิกษุทั้งหลาย !  สัปบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว
ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใสประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก
ในที่ที่ทานนั้นให้ผล
ภิกษุทั้งหลาย !  สัปบุรุษครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว
ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเป็นผู้มีบุตร ภรรยา ทาส คนใช้หรือคนงาน
เป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงฟังคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ ในที่ที่ทานนั้นให้ผล

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๒/๑๔๘.
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๒๔๐/๑๒๒.




ทานของคนดี (นัยที่ ๑)

ภิกษุทั้งหลาย !  สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้มีอยู่ 
๘ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑)ให้ของสะอาด
(๒) ให้ของประณีต
(๓) ให้ตามกาล
(๔) ให้ของสมควร
(๕)เลือกให้
(๖) ให้เนืองนิตย์
(๗) เมื่อให้จิตผ่องใส 
(๘) ให้แล้วดีใจ
ภิกษุทั้งหลาย !  เหล่านี้แล สัปปุริสทาน ๘ ประการ.

    (คาถาผนวกท้ายพระสูตร)

สัปบุรุษย่อมให้ทาน คือ ข้าวและน้ำที่สะอาด ประณีต ตามกาลสมควร เนืองนิตย์
ในผู้ประพฤติพรหมจรรย์
ผู้เป็นเขตดี สละของมากแล้วก็ไม่รู้สึกเสียดาย
ท่านผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง
ย่อมสรรเสริญทานที่สัปบุรุษให้แล้วอย่างนี้
ผู้มีปัญญา มีศรัทธา เป็นบัณฑิต มีใจพ้นจากความตระหนี่
ครั้นบำเพ็ญทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่เป็นสุขไม่มีความเบียดเบียน.

-บาลี อฏ จก. อํ. ๒๓/๒๔๘/๑๒๗.


ทานของคนไม่ดี หรือ ทานของคนดี

ภิกษุทั้งหลาย !  อสัปปุริสทาน ๕ ประการนี้มีอยู่ 
๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) ให้โดยไม่เคารพ
(๒) ให้โดยไม่อ่อนน้อม
(๓) ไม่ให้ด้วยมือตนเอง
(๔) ให้ของที่เป็นเดน
(๕) ให้โดยไม่คำนึงผลที่จะมาถึง (อนาคมนทิฏฐิ)
ภิกษุทั้งหลาย !  เหล่านี้แล อสัปปุริสทาน ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย !  สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้มีอยู่ 
๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) ให้โดยเคารพ
(๒) ให้โดยอ่อนน้อม
(๓) ให้ด้วยมือตนเอง
(๔) ให้ของไม่เป็นเดน
(๕) ให้โดยคำนึงผลที่จะมาถึง (อาคมนทิฏฐิ)
ภิกษุทั้งหลาย !  เหล่านี้แล สัปปุริสทาน ๕ ประการ.

-บาลี ปญจก. อํ. ๒๒/๑๙๒/๑๔๗.


 

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ลักษณะของการเกิด

สารีบุตร !  กำเนิด ๔ ประการเหล่านี้ มีอยู่. ๔ ประการ อย่างไรเล่า ? คือ :-
(๑)อัณฑชะกำเนิด (เกิดในไข่)
(๒)ชลาพุชะกำเนิด (เกิดในครรภ์)
(๓)สังเสทชะกำเนิด (เกิดในเถ้าไคล)
(๔)โอปปาติกะกำเนิด (เกิดผุดขึ้น)

สารีบุตร !  ก็อัณฑชะกำเนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
 สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชำแรกเปลือกแห่งฟองเกิด นี้เราเรียกว่า อัณฑชะกำเนิด.
สารีบุตร !  ชลาพุชะกำเนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ชำแรกไส้ (มดลูก) เกิด นี้เราเรียกว่า ชลาพุชะกำเนิด.
สารีบุตร !  สังเสทชะกำเนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ย่อมเกิดในปลาเน่า ในซากศพเน่า ในขนมบูด หรือในน้ำครำ ในเถ้าไคล  (ของสกปรก) นี้เราเรียกว่า สังเสทชะกำเนิด.
สารีบุตร !  โอปปาติกะกำเนิด เป็นอย่างไรเล่า ?
เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางจำพวก และเปรตบางจำพวก นี้เราเรียกว่า โอปปาติกะกำเนิด.

สารีบุตร !  เหล่านี้แล กำเนิด ๔ ประการ.

-บาลี มู. ม. ๑๒/๑๔๖/๑๖๙.


ลักษณะของการเกิด กำเนิด ๔, สังเสทชะ, ชลาพุชะ, , อัณฑชะ, โอปปาติกะ,

ลักษณะของการเกิด กำเนิด ๔, สังเสทชะ, ชลาพุชะ, , อัณฑชะ, โอปปาติกะ,

ลักษณะของการเกิด กำเนิด ๔, สังเสทชะ, ชลาพุชะ, , อัณฑชะ, โอปปาติกะ,


ลักษณะของการเกิด กำเนิด ๔, สังเสทชะ, ชลาพุชะ, , อัณฑชะ, โอปปาติกะ,


ลักษณะของการเกิด กำเนิด ๔, สังเสทชะ, ชลาพุชะ, , อัณฑชะ, โอปปาติกะ,

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์ (นัยที่ ๒)

ภิกษุ !  บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
เขาได้ฟังมาว่า พวกเทวดาซึ่งอาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก
มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า :-
    “โอหนอ !  เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาซึ่งอาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก”
    เขาจึงให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป ครั้นตายไป เขาย่อมเข้าถึง

ความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งอาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก.
    ภิกษุ !  ข้อนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งอาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก

    (ตรัสอย่างดียวกันกับกรณีของเทวดาซึ่งอาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น, มีกลิ่นที่กระพี้, มีกลิ่นที่เปลือก, มีกลิ่นที่กะเทาะ, มีกลิ่นที่ใบ, มีกลิ่นที่ดอก, มีกลิ่นที่ผล, มีกลิ่นที่รส, มีกลิ่นที่กลิ่น)



-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๑๒/๕๔๐.

เหตุให้เข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์(นัยที่ ๑)

ภิกษุ !  บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
เขาได้ฟังมาว่า พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์
มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า :-
    “โอหนอ !  เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์” ครั้นตายไป เขา

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์.
    ภิกษุ !  ข้อนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์.

    (ในสูตรถัดไป ได้ตรัสถึงการสร้างเหตุอย่างเดียวกัน แต่ว่าลงรายละเอียดไปในแต่ละประเภทของเทวดาเหล่านี้)


-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๐๙/๕๓๗.

เทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์

ภิกษุทั้งหลาย !  เราจักแสดงพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์ (คนฺธพฺพกายิกา เทวา) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี

เราจักกล่าว.
    ภิกษุทั้งหลาย !  พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์ เป็นอย่างไรเล่า ?
    พวกเทวดาซึ่งอาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รากก็มี (มูลคนฺธ อธิวตฺถ)
    อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่นก็มี (สารคนฺธ อธิวตฺถ)
    อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ก็มี (เผคฺคุคนฺธ อธิวตฺถ)
    อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือกก็มี (ตจคนฺธ อธิวตฺถ)
    อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กะเทาะก็มี (ปปฏิกคนฺธ อธิวตฺถ)
    อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบก็มี (ปตฺตคนฺธ อธิวตฺถ)
    อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอกก็มี (ปุปฺผคนฺธ อธิวตฺถ)
    อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผลก็มี (ผลคนฺธ อธิวตฺถ)
    อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รสก็มี (รสคนฺธ อธิวตฺถ)
    อาศัยอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่นก็มี (คนฺธคนฺธ อธิวตฺถ)
    ภิกษุทั้งหลาย !  พวกนี้เราเรียกว่า พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์

บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๐๙/๕๓๖.

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ทรัพย์ในอริยวินัย (นัยที่ ๒)

ภิกษุทั้งหลาย !  ทรัพย์ ๗ ประการเหล่านี้มีอยู่  ๗ ประการเป็นอย่างไร คือ
    (๑) ทรัพย์คือ ศรัทธา (๒) ทรัพย์คือ ศีล (๓) ทรัพย์คือ หิริ (๔) ทรัพย์คือ โอตตัปปะ (๕) ทรัพย์คือ สุตะ (๖) ทรัพย์คือ จาคะ (๗) ทรัพย์คือ ปัญญา

    ภิกษุทั้งหลาย !  ก็ทรัพย์คือศรัทธาเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศรัทธา.
ภิกษุทั้งหลาย !  ก็ทรัพย์คือศีลเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล.
    ภิกษุทั้งหลาย !  ก็ทรัพย์คือหิริเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันเป็นบาป นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ.
    ภิกษุทั้งหลาย !  ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันเป็นบาป
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือโอตตัปปะ.
    ภิกษุทั้งหลาย !  ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงจำได้
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ.
    ภิกษุทั้งหลาย !  ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้และการแบ่งปัน นี้เรียกว่า ทรัพย์คือจาคะ.
    ภิกษุทั้งหลาย !  ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญาคือประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือปัญญา.
    ภิกษุทั้งหลาย !  นี้แล ทรัพย์ ๗ ประการ.
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
    ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะและปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด
เป็นหญิงหรือชายก็ตาม บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์
เพราะฉะนั้นท่านผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม.

-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๕/๖.

พุทธวจน, ทาน, อริยทรัพย์, ทรัพย์ในอริยวินัย,

ทรัพย์ในอริยวินัย (นัยที่ ๑)

ภิกษุทั้งหลาย !  ทรัพย์ ๕ ประการเหล่านี้มีอยู่  ๕ ประการเป็นอย่างไร คือ
(๑) ทรัพย์คือ ศรัทธา (๒) ทรัพย์คือ ศีล (๓) ทรัพย์คือ สุตะ (๔) ทรัพย์คือ จาคะ (๕) ทรัพย์คือ ปัญญา

    ภิกษุทั้งหลาย !  ก็ทรัพย์คือศรัทธาเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค

พระองค์นั้น ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศรัทธา.
    ภิกษุทั้งหลาย !  ก็ทรัพย์คือศีลเป็นอย่างไร. 
ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล.
    ภิกษุทั้งหลาย !  ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นอย่างไร. 
ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงจำได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดอย่างดี

ด้วยทิฏฐิซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ.
    ภิกษุทั้งหลาย !  ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นอย่างไร. 
ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่า

มืออันชุ่ม ยินดีในการสละ
เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้และการแบ่งปัน
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือจาคะ.
    ภิกษุทั้งหลาย !  ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นอย่างไร. 
ภิกษุทั้งหลาย !  อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันหยั่งถึงความตั้งขึ้นและความเสื่อมไป เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส

ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือปัญญา.
    ภิกษุทั้งหลาย !  นี้แล ทรัพย์ ๕ ประการ.

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
    ผู้ใดมีความเชื่อในตถาคต ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
    มีศีลอันงาม อันพระอริยะชอบใจ สรรเสริญ
    มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง
    บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคนขัดสน
    ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์
    เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อนึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็นธรรมเนืองๆ เถิด.

-บาลี ปญจก. อํ. ๒๒/๕๘/๔๗.









วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

สิ้นกิเลสก็แล้วกัน ไม่ต้องรู้ว่าสิ้นไปเท่าไร

ภิกษุทั้งหลาย ! 
เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือหรือรอยนิ้วหัวแม่มือ
ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้
หรือลูกมือของพวกช่างไม้
แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า
ด้ามเครื่องมือของเรา วันนี้สึกไปเท่านี้
วานนี้สึกไปเท่านี้
วันอื่นๆ สึกไปเท่านี้ๆ 
คงรู้แต่ว่ามันสึกไปๆ เท่านั้น,
นี้ฉันใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! 
เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่
ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้
วานนี้สิ้นไปเท่านี้
วันอื่นๆ สิ้นไปเท่านี้ๆ
รู้แต่เพียงว่า
สิ้นไปในเมื่อมันสิ้นไปๆ เท่านั้น
,
ฉันใดก็ฉันนั้น.

    -บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๗/๖๘.

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บทสวดระลึกถึงพระพุทธเจ้า

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปัชชะติ
ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้

อะระหัง
เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทโธ
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

สุคะโต
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

โลกะวิทู
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึก อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

สัตถา เทวะมะนุสสานัง
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พุทโธ
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม

ภะคะวา
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

โส อิมัง โลกัง
ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้

สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพ๎รัห๎มะกัง๎ สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิง
กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง
เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์

สะยัง อภิญญา
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว

สัจฉิกัต๎วา ปะเวเทสิ
สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม

โส ธัมมัง เทเสสิ
ตถาคตนั้นแสดงธรรม

อาทิกัล๎ยาณัง
ไพเราะในเบื้องต้น

มัชเฌกัล๎ยาณัง
ไพเราะในท่ามกลาง

ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง
ไพเราะในที่สุด

สาตถัง สะพ๎ยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พ๎รัห๎มะจะริยัง ปะกาเสติ
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ดังนี้

    -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๑๗/๑๖.

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

การรู้อริยสัจสี่ ทำให้มีตาสมบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย !  บุคคล ๓ จำพวกนี้มีอยู่ หาได้อยู่ในโลก. 
สามจำพวกอย่างไรเล่า ?   สามจำพวกคือ :-
คนตาบอด (อนฺโธ),
คนมีตาข้างเดียว (เอกจกฺขุ),
คนมีตาสองข้าง (ทฺวิจกฺขุ).

    ภิกษุทั้งหลาย !  คนตาบอดเป็นอย่างไรเล่า ?
    คือคนบางคนในโลกนี้ 
ไม่มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้
หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น  นี้อย่างหนึ่ง; 
และไม่มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล
- ธรรมมีโทษและไม่มีโทษ 
- ธรรมเลวและธรรมประณีต 
- ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว
  นี้อีกอย่างหนึ่ง. 
 ภิกษุทั้งหลาย !  นี้แล  คนตาบอด (ทั้งสองข้าง).

ภิกษุทั้งหลาย !  คนมีตาข้างเดียวเป็นอย่างไรเล่า ?
    คือคนบางคนในโลกนี้
มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้
หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง;
แต่ไม่มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล
- ธรรมมีโทษและไม่มีโทษ
- ธรรมเลวและธรรมประณีต
- ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว
 
นี้อีกอย่างหนึ่ง.
    ภิกษุทั้งหลาย !  นี้แล  คนมีตาข้างเดียว.

    ภิกษุทั้งหลาย !  คนมีตาสองข้างเป็นอย่างไรเล่า ?
    คือคนบางคนในโลกนี้
มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้
หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น  นี้อย่างหนึ่ง;
และมีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล
- ธรรมมีโทษและไม่มีโทษ 
- ธรรมเลวและธรรมประณีต
- ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว
  นี้อีกอย่างหนึ่ง. 
    ภิกษุทั้งหลาย !  นี้แล  คนมีตาสองข้าง.

...ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุมีตาสมบูรณ์ (จกฺขุมา)  เป็นอย่างไรเล่า ? 
    คือภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกข์,
นี้เหตุให้เกิดแห่งทุกข์,
นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” 
ดังนี้.
    ภิกษุทั้งหลาย !  นี้แล ภิกษุมีตาสมบูรณ์.

    -บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๖๒/๔๖๘.
    -บาลี ติก. อํ. ๒๐/๑๔๗/๔๕๙.

พุทธวจน คนมีตาสองข้าง

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

อย่าหูเบา

(๑) อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า
ฟังตามๆ กันมา (อนุสฺสว)
(๒) อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า
กระทำตามๆ กันมา (ปรมฺปร)
(๓) อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า
เล่าลือกันอยู่ (อิติกิร)
(๔) อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า
มีที่อ้างในปิฎก (ปิฏกสมฺปทาย)
(๕) อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า
การใช้เหตุผลทางตรรกคาดคะเน (ตกฺกเหตุ) (๖) อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า
การใช้เหตุผลทางนัยะสันนิษฐาน (นยเหตุ)
(๗) อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า
การตรึกตามอาการ (อาการปริวิตกฺก)
(๘) อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า
ทนต่อการเพ่งแห่งทิฏฐิ (ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติ)
(๙) อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า
ฟังดูน่าเชื่อ (ภพฺพรูปตา)
(๑๐) อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า
 สมณะผู้พูดเป็นครูของตน (สมโณ โน ครุ).

-บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๔๑-๒๔๘/๕๐๕.

พุทธวจน เกสปุตตสูตร

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

อานาปานสติ : เป็นสุขวิหารระงับได้ซึ่งอกุศล

(ทรงปรารภเหตุที่ ภิกษุทั้งหลายได้ฆ่าตัวตายบ้าง ฆ่ากันและกันบ้าง เนื่องจากเกิดความอึดอัดระอา เกลียดกายของตน เพราะการปฏิบัติอสุภภาวนา จึงได้ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิแก่ภิกษุเหล่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย !  อานาปานสติสมาธินี้แล
อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นของรำงับ
เป็นของประณีต เป็นของเย็น
เป็นสุขวิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป อันเกิดขึ้นแล้ว
และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป ให้รำงับไป โดยควรแก่ฐานะ.

ภิกษุทั้งหลาย !  เปรียบเหมือนฝุ่นธุลีฟุ้งขึ้นแห่งเดือนสุดท้ายของฤดูร้อน
ฝนหนักที่ผิดฤดูตกลงมา
ย่อมทำฝุ่นธุลีเหล่านั้นให้อันตรธานไป
ให้รำงับไปได้ โดยควรแก่ฐานะ, ข้อนี้ฉันใด;

ภิกษุทั้งหลาย !  อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ก็เป็นของระงับ เป็นของประณีต เป็นของเย็น
เป็นสุขวิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว
และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป
ให้รำงับไปได้ โดยควรแก่ฐานะได้ ฉันนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย !  ก็อานาปานสติสมาธิ
อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า ?
ที่เป็นของรำงับ เป็นของประณีต เป็นของเย็น
เป็นสุขวิหาร และย่อมยังอกุศลธรรม
อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป
ให้รำงับไปได้ โดยควรแก่ฐานะได้.

    ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม
ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น; ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก :
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
    (แต่นี้ได้ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ซึ่งเหมือนใน พระสูตร ทุกประการ).

ภิกษุทั้งหลาย !  อานาปานสติสมาธิ
อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้
ย่อมเป็นของรำงับ เป็นของประณีต เป็นของเย็น
 เป็นสุขวิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป
ที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป
ให้รำงับไปได้ โดยควรแก่ฐานะ ดังนี้ แล.

    -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๐๖/๑๓๕๒.
    -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๐๗/๑๓๕๒.
    -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๐๗/๑๓๕๓.
    -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๐๗/๑๓๕๔.
    -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๐๘/๑๓๕๔.
    -บาลี มหา. วิ. ๑/๑๒๘/๑๗๖.
    -บาลี มหา. วิ. ๑/๑๒๙/๑๗๖.
    -บาลี มหา. วิ. ๑/๑๓๐/๑๗๖.
    -บาลี มหา. วิ. ๑/๑๓๐/๑๗๗.
    -บาลี มหา. วิ. ๑/๑๓๑/๑๗๗.
    -บาลี มหา. วิ. ๑/๑๓๑/๑๗๘.

พุทธวจน อานาปานสติ เป็นสุขวิหาร



จงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน

...พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไป
    เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน
    เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล
    เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

...จงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น
    งดงามในท่ามกลาง งดงามในเบื้องปลาย
    ...ให้เป็นไปพร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ
    ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

สัตว์ทั้งหลายที่เป็นพวกมีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่
สัตว์พวกนี้ ย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้ เพราะไม่ได้ฟังธรรม
สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีเป็นแน่ ... .

    -บาลี มหา. วิ. ๔/๓๙/๓๒.


วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

ศีล ๕

(ปาณาติปาตา เวรมณี) เธอนั้น ละปาณาติบาต
เว้นขาดจากปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์)
วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา
หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่.
(อทินนาทานา เวรมณี) เธอนั้น ละอทินนาทาน
เว้นขาดจากอทินนาทาน (ลักทรัพย์)
ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว
หวังอยู่แต่ของที่เขาให้
ไม่เป็นขโมย มีตนเป็นคนสะอาดเป็นอยู่.
(กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี) เธอนั้น ละการประพฤติผิดในกาม
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม (คือเว้นขาดจากการประพฤติผิด)
ในหญิง ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง
หรือญาติรักษา อันธรรมรักษา
เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม
โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย)
ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น.
(มุสาวาทา เวรมณี) เธอนั้น ละมุสาวาท 
เว้นขาดจากมุสาวาท
พูดแต่ความจริง รักษาความสัตย์ มั่นคงในคำพูด
มีคำพูดควรเชื่อถือได้
ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก.
(สุราเมระยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี) เธอนั้น เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งของความประมาท.

-บาลี ปา. ที. ๑๑/๒๔๗/๒๘๖.
-บาลี สี. ที. ๙/๘๓/๑๐๓.
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๕/๑๖๕.


ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ

... ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ
ผู้ใดย่อมให้เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ข้าว น้ำ
และปัจจัยมีประการต่างๆ ด้วยความพอใจ
ในท่านผู้ประพฤติตรง สิ่งของที่ให้ไปแล้วนั้น
ย่อมเป็นของที่บริจาคแล้ว
สละแล้วไม่คิดเอาคืน ผู้นั้นเป็นสัปบุรุษ
ทราบชัดว่าพระอรหันต์เปรียบด้วยนาบุญ
บริจาคสิ่งที่บริจาคได้ยากแล้ว
ชื่อว่าให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้.

... ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ
ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ
ผู้ให้ของที่ดีย่อมได้ของที่ดี
และผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ
นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ
นรชนนั้นจะบังเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ ดังนี้.

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๕๓/๔๔.

พุทธวจน ย่อมได้ของที่พอใจ

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์ (อย่างหนัก)

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพระราชา มีการกระทำ ชนิด
ที่เป็นไปแต่เพียงเพื่อการคุ้มครองอารักขา,
แต่มิได้เป็นไปเพื่อการกระทำให้เกิดทรัพย์ แก่บุคคลผู้ไม่มีทรัพย์ทั้งหลาย
ดังนั้นแล้ว ความยากจนขัดสน ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง
แรงกล้าถึงที่สุด;
เพราะความยากจนขัดสนเป็นไปอย่างกว้างขวาง
แรงกล้าถึงที่สุด อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ก็เป็นไปอย่าง
กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
เพราะอทินนาทานเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า
ถึงที่สุด การใช้ศัสตราวุธโดยวิธีการต่างๆ ก็เป็นไปอย่าง
กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
เพราะการใช้ศัสตราวุธโดยวิธีการต่างๆ เป็นไป
อย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ปาณาติบาต (ซึ่งหมายถึง
การฆ่ามนุษย์ด้วยกัน) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึง
ที่สุด;
เพราะปาณาติบาตเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า
ถึงที่สุด มุสาวาท (การหลอกลวงคดโกง) ก็เป็นไปอย่าง
กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาจาก ๘ หมื่นปี
เหลือเพียง ๔ หมื่นปี)
เพราะมุสาวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า
ถึงที่สุด ปิสุณาวาท (การพูดจายุแหย่เพื่อการแตกกันเป็นก๊ก
เป็นหมู่ ทำลายความสามัคคี) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า
ถึงที่สุด;
(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๒ หมื่นปี)
เพราะปิสุณาวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า
ถึงที่สุด กาเมสุมิจฉาจาร (การทำชู้ การละเมิดของรักของ
บุคคลอื่น) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๑ หมื่นปี)
เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นไปอย่างกว้างขวาง
แรงกล้าถึงที่สุด ผรุสวาท และ สัมผัปปลาปวาท (การใช้
คำหยาบ และคำพูดเพ้อเจ้อเพื่อความสำราญ) ก็เป็นไปอย่าง
กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๕ พันปี)
เพราะผรุสวาทและสัมผัปปลาปวาทเป็นไป
อย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด อภิชฌาและพยาบาท
(แผนการกอบโกย และการทำลายล้าง) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง
แรงกล้าถึงที่สุด;
(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๒,๕๐๐-
๒,๐๐๐ ปี)
เพราะอภิชฌาและพยาบาทเป็นไปอย่างกว้างขวาง
แรงกล้าถึงที่สุด มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดชนิดเห็นกงจักร
เป็นดอกบัว นิยมความชั่ว) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า
ถึงที่สุด;
(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๑,๐๐๐ ปี)
เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า
ถึงที่สุด (อกุศล) ธรรมทั้งสาม คือ อธัมมราคะ (ความยินดี
ที่ไม่เป็นธรรม) วิสมโลภะ (ความโลภไม่สิ้นสุด) มิจฉาธรรม
(การประพฤติตามอำนาจกิเลส) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวาง
แรงกล้าถึงที่สุด (อย่างไม่แยกกัน);
(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๕๐๐ ปี)
เพราะ (อกุศล) ธรรม ทั้งสาม ... นั้นเป็นไปอย่าง
กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (อกุศล) ธรรมทั้งหลาย คือ
ไม่ปฏิบัติอย่างถูกต้องในมารดา, บิดา, สมณพราหมณ์
ไม่มี กุลเชฏฐาปจายนธรรม (ความอ่อนน้อมตามฐานะสูง ต่ำ )
ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด.
(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๒๕๐-
๒๐๐-๑๐๐ ปี)
สมัยนั้น จักมีสมัยที่มนุษย์มีอายุขัยลดลงมา
เหลือเพียง ๑๐ ปี (จักมีลักษณะแห่งความเสื่อมเสียมีประการ
ต่างๆ ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า) : หญิงอายุ ๕ ปี ก็มีบุตร;
รสทั้งห้า คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และ
รสเค็ม ก็ไม่ปรากฏ;
มนุษย์ทั้งหลาย กินหญ้าที่เรียกว่า
กุท๎รูสกะ (ซึ่งนิยมแปลกันว่าหญ้ากับแก้) แทนการกินข้าว;
กุศลกรรมบถหายไป ไม่มีร่องรอย, อกุศลกรรมบถ
รุ่งเรืองถึงที่สุด;
ในหมู่มนุษย์ ไม่มีคำพูดว่ากุศล จึงไม่มีการทำกุศล;
มนุษย์สมัยนั้น จักไม่ยกย่องสรรเสริญ ความ
เคารพเกื้อกูลต่อมารดา (มัตเตยยธรรม), ความเคารพ
เกื้อกูลต่อบิดา (เปตเตยยธรรม), ความเคารพเกื้อกูลต่อ
สมณะ (สามัญญธรรม), ความเคารพเกื้อกูลต่อพราหมณ์
(พรหมัญญธรรม), และกุลเชฏฐาปจายนธรรม, เหมือนอย่าง
ที่มนุษย์ยกย่องกันอยู่ในสมัยนี้;
ไม่มีคำพูดว่า แม่ น้าชาย น้าหญิง พ่อ อา ลุง ป้า ภรรยาของอาจารย์ และคำพูดว่า
เมียของครู; สัตว์โลกจักกระทำการสัมเภท (สมสู่สำส่อน)
เช่นเดียวกันกับแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัข สุนัขจิ้งจอก;
ความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดฆ่า
เป็นไปอย่างแรงกล้า แม้ในระหว่างมารดากับบุตร บุตรกับ
มารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่กับน้อง น้องกับพี่ ทั้งชาย
และหญิง เหมือนกับที่นายพรานมีความรู้สึกต่อเนื้อทั้งหลาย.
ในสมัยนั้น จักมี สัตถันตรกัปป์ (การใช้ศัสตราวุธ
ติดต่อกันไม่หยุดหย่อน) ตลอดเวลา ๗ วัน : สัตว์ทั้งหลาย
เหล่านั้น จักมีความสำคัญแก่กันและกัน ราวกะว่า
เนื้อ; แต่ละคนมีศัสตราวุธในมือ ปลงชีวิตซึ่งกันและ
กันราวกะว่า ฆ่าปลา ฆ่าเนื้อ.
(มีมนุษย์หลายคน ไม่เข้าร่วมวงสัตถันตรกัปป์ด้วย
ความกลัว หนีไปซ่อนตัวอยู่ในที่ที่พอจะซ่อนตัวได้ตลอด ๗ วัน
แล้วกลับออกมาพบกันและกัน ยินดีสวมกอดกัน กล่าวแก่กันและ
กันในที่นั้นว่า มีโชคดีที่รอดมาได้ แล้วก็ตกลงกันในการตั้งต้น
ประพฤติธรรมกันใหม่ต่อไป ชีวิตมนุษย์ก็ค่อยเจริญขึ้น จาก ๑๐ ปี
ตามลำดับๆ จนถึงสมัย ๘ หมื่นปี อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งเป็นสมัย
แห่งศาสนาของพระพุทธเจ้ามีพระนามว่า เมตเตยยสัมมาสัมพุทธะ).
ปา. ที. ๑๑/๗๐-๘๐/๓๙-๔๗.

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ (นัยที่ ๑)

อานนท์ ! วิญญาณฐิติ (ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ) ๗
เหล่านี้ และ อายตนะ ๒ มีอยู่.
วิญญาณฐิติ ๗ เหล่าไหนเล่า ?
วิญญาณฐิติ ๗ คือ :-
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย (สตฺตา) มีกายต่างกัน
มีสัญญาต่างกันมีอยู่ได้แก่ มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวก
และวินิบาตบางพวก นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๑.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญา
อย่างเดียวกัน มีอยู่ ได้แก่ พวกเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม
ที่บังเกิดโดยปฐมภูมิ (ปฐมานิพฺพตฺตา) นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๒.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาต่างกัน มีอยู่ ได้แก่ พวกเทพอาภัสสระ นี้คือ
วิญญาณฐิติที่ ๓.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาอย่างเดียวกัน มีอยู่ได้แก่ พวกเทพสุภกิณหะ นี้คือ
วิญญาณฐิติที่ ๔.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง
รูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง
ปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสา-
นัญจายตนะ มีการทำในใจว่า “อากาศไมมี่ที่สุด” ดังนี้ มีอยู่
นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๕.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญา-
ณัญจายตนะ มีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้
มีอยู่ นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๖.
อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง
วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญ-
จัญญายตนะ มีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้ มีอยู่
นี้คือ วิญญาณฐิติที่ ๗.

ส่วน อายตนะ ๒ นั้น คือ
อสัญญีสัตตายตนะที่ ๑
เนวสัญญานาสัญญายตนะที่ ๒


อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒
(รวมเป็น ๙) นั้น วิญญาณฐิติที่ ๑ อันใด มีอยู่ คือ สัตว์
ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่ มนุษย์ทั้งหลาย
เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก.

อานนท์ ! ผู้ใดรู้ชัดวิญญาณฐิติที่ ๑ นั้น
รู้ชัดการเกิด (สมุทัย) แห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดความดับ (อัตถังคมะ)แห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดรสอร่อย (อัสสาทะ) แห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดโทษต่ำทราม (อาทีนวะ) แห่งสิ่งนั้น
และรู้ชัดอุบายเป็น เครื่องออกไปพ้น (นิสสรณะ) แห่งสิ่งนั้น
ดังนี้แล้ว ควรหรือหนอที่ผู้นั้น
จะเพลิดเพลินยิ่งซึ่งวิญญาณฐิติที่ ๑ นั้น ?
ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !

(ในกรณีแห่ง วิญญาณฐิติที่ ๒ วิญญาณฐิติที่ ๓ วิญญานฐิติที่ ๔ วิญญาณฐิติที่ ๕ วิญญาณฐิติที่ ๖ วิญญาณฐิติที่ ๗ และ
อสัญญีสัตตายตนะที่ ๑ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะดังที่กล่าวแล้วข้างต้น
ก็ได้มีการอธิบาย ตรัสถาม และทูลตอบ โดยข้อความทำนองเดียวกัน
กับในกรณีแห่งวิญญาณฐิติที่ ๑ นั้น ทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อแห่ง
สภาพธรรมนั้นๆ เท่านั้น ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนะที่ ๒ นั้น
จะได้บรรยายด้วยข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ :-)


อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒
(รวมเป็น ๙) นั้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ความหมายรู้ว่า
มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่) อันใด มีอยู่.

อานนท์์ ! ผู้ใดรู้ชัดเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
รู้ชัดการเกิดแห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดการดับแห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดรสอร่อยแห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดโทษอันต่ำทรามแห่งสิ่งนั้น
และรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องออกแห่งสิ่งนั้น
ดังนี้แล้ว ควรหรือหนอ
ที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ?

ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !

อานนท์ ! เมื่อใดแล ภิกษุรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง
ซึ่งการเกิด การดับ รสอร่อย โทษอันต่ำทราม และอุบายเป็น
เครื่องออกแห่ง วิญญาณฐิติ ๗ เหล่า นี้ และแห่ง อายตนะ ๒
เหล่า นี้ด้วยแล้ว เป็น ผู้หลุดพ้น เพราะความไมยึ่ดมั่น.
อานนท์ ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุติ
มหา. ที. ๑๐/๘๑-๘๓/๖๕.

_____________________
ปฐมภูมิ : ภูมิเบื้องต้น สามารถเข้าถึงได้หลายทาง เช่น ผู้ได้ปฐมฌาน,
ผู้เจริญเมตตา, ผู้กระทำกุศลกรรมบท ๑๐, ผู้ประกอบพร้อมด้วย ศรัทธา
ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เป็นต้น.
วิญญาณฐิติที่ ๒:ในไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เฉพาะในสูตรนี้ วิญญาณฐิติที่ ๒ จะพบว่ามีคำว่า
อบายทั้ง ๔ อยู่เพียงตำแหน่งเดียวที่เป็นพุทธวจน แต่ไม่ตรงกับสูตรอื่น
ที่กล่าวถึงวิญญาณฐิติ ๗ (คือใน ๒ สูตรของพระสารีบุตรที่พระพุทธเจ้ารับรอง ๑ สูตร
และพระสารีบุตรทรงจำเอง ๑ สูตร) และไม่ตรงกับไตรปิฎกฉบับภาษามอญและ
ภาษายุโรป ดังนั้น คำว่า อบายทั้ง ๔ จึงไม่ได้นำมาใส่ในที่นี้.
รูปสัญญา : ความหมายรู้ในรูป.
ปฏิฆสัญญา : ความหมายรู้อันไม่น่ายินดีในส่วนรูป. 
นานัตตสัญญา : ความหมายรู้อันมีประการต่างๆ ในส่วนรูป.

พุทธวจน ภพภูมิ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่

ภิกษุทั้งหลาย !
ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่
ย่อมดำริ(ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่
และย่อมมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ)ในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มีอยู่
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย !
ถ้าบุคคลย่อมไม่คิด (โน เจเตติ) ถึงสิ่งใด
ย่อมไม่ดำริ(โน ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใด
แต่เขายังมีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์ มีอยู่ความตั้งขึ้นเฉพาะแหง่ วิญญาณย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่ง ภพใหม่ต่อไป ย่อมมี
เมี่อความเกิดขึ้นแหง่ภพใหม่ต่อไป มีอยู่
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพรอ้ ม
แหง่ กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ถ้าว่าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย
ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย
และย่อมไม่มีจิตฝัง ลงไป (โน อนุเสติ) ในสิ่งใดด้วย
ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์
เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย
เมื่ออารมณ์ไม่มีความตั้งขึ้นเฉพาะแห่ง วิญญาณ ย่อมไม่มี
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ไม่มี
ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.

นิทาน. สํ. ๑๖/๗๘/๑๔๕.

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา

... เมื่อสมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขา
ให้ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังกล่าวเดรัจฉานกถาเห็น
ปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย ์
เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่อง
ผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่อง
ยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท
เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ
เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล
เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ.
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา
เห็นปานนี้เสียแล้ว แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
 -บาลี สี. ที. ๙/๘๗/๑๑๐.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย จงอย่ากล่าว
เดรัจฉานกถา
เห็นปานนี้ คือ
พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร
เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่อง
ข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม
เรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร
เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ
เพราะเหตุไรจึงไม่ควรกล่าว เพราะการกล่าวนั้นๆ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อม
เพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ
ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพานเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพวกเธอจะกล่าว จงกล่าวว่า
“เช่นนี้ๆ เป็นทุกข์
เช่นนี้ๆ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
เช่นนี้ๆ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
และเช่นนี้ๆ เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้
เพราะเหตุไรจึงควรกล่าว
เพราะการกล่าวนั้นๆ ย่อมประกอบด้วยประโยชน์
เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์
เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด
ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อมและนิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอ
พึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า
“นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๖/๑๖๖๓.

พระพุทธเจ้า เว้นขาดจากเดรัจฉานกถา

ภิกษุทั้งหลาย ! อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมณะหรือ
พราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ท่านเหล่านั้นยังกล่าวเดรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ
พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ
เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน
เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยานพาหนะ
เรื่องหมู่บ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี
เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้้ำ เรื่อง
คนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล
เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ.
ส่วนสมณโคดม เว้นขาดจากเดรัจฉานกถาเห็นปานนี้
เสียแล้ว เมื่อปุถุชนจะกล่าวสรรเสริญตถาคต 
พึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้.
-บาลี สี. ที. ๙/๑๐/๑๕.

อะไรคือเดรัจฉานกถา

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย จงอย่ากล่าว
เดรัจฉานกถา
เห็นปานนี้ คือ
พูดเรื่องพระราชา
เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ
เรื่องภัย เรื่องการรบ  เรื่องข้าว
เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน
เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอมเรื่องญาติ
เรื่องยานพาหนะ เรื่องหมู่บ้าน
เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท
เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะถ้อยคำนี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์
ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย
ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง
ความรู้พร้อม และนิพพานเลย.

 -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๖/๑๖๖๓.

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผู้ให้ข้าวยาคู ก็ชื่อว่าให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาน

พราหมณ์ ! ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่าง ๑๐ อย่าง
เป็นอย่างไร คือ ผู้ให้ข้าวยาคู
ชื่อว่าให้อายุ 
ให้วรรณะ 
ให้สุข 
ให้กำลัง 
ให้ปฏิภาณ
ข้าวยาคูที่ดื่มแล้วกำจัดความหิว
บรรเทาความระหาย
ทำลมให้เดินคล่อง 

ล้างลำไส้
ย่อยอาหารที่เหลืออยู่.

พราหมณ์ ! เหล่านี้แล คือคุณของข้าวยาคู ๑๐ อย่าง.
จากนั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำอนุโมทนา ดังนี้
ทายกใดถวายข้าวยาคูโดยเคารพตามกาลแก่ปฏิคาหก
ผู้สำรวมแล้ว ผู้บริโภคโภชนะอันผู้อื่นถวาย ทายกนั้นชื่อว่า
ตามเพิ่มให้ซึ่งสถานะ ๑๐ อย่างแก่ปฏิคาหกนั้น
คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ
ย่อมเกิดแก่ปฏิคาหกนั้น
แต่นั้นข้าวยาคูย่อมกำจัดความหิว ความระหาย
ทำลมให้เดินคล่อง ล้างลำไส้ และย่อยอาหาร ข้าวยาคูนั้น
พระสุคตตรัสสรรเสริญว่าเป็นเภสัช
เพราะเหตุนั้นแล มนุษย์ชนที่ต้องการสุขเป็นนิจ
ปรารถนาสุขที่เลิศ หรืออยากได้ความงามอันเพริศพริ้งใน
มนุษย์ จึงควรแท้เพื่อถวายข้าวยาคู.
-บาลี มหา. วิ. ๕/๗๖/๖๑.

ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาน

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ
ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ ๔ อย่างแก่ปฏิคาหก
๔ อย่างเป็นอย่างไร คือ
ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ
ครั้นให้อายุแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอายุอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้วรรณะแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้สุขแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุขอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้พละแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งพละอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ
ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ ๔ อย่างนี้แลแก่ปฏิคาหก.

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ผู้ใดย่อมให้โภชนะโดยเคารพ ตามกาลอันควร
แก่ท่านผู้สำรวม บริโภคโภชนะที่ผู้อื่นให้เป็นอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าให้
ฐานะทั้ง ๔ อย่าง คือ อายุ วรรณะ สุขะ และพละ
ผู้มีปกติให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ จะเกิดในที่ใดๆ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้นๆ.
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๔/๕๙.


ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่าง
แก่ปฏิคาหก ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ
ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุข ให้กำลัง ให้ปฏิภาณ
ครั้นให้อายุแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง อายุอัน เป็น ทิพย์ หรือ เป็น ของมนษุย์
ครั้น ให้วรรณะแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้สุขแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุขอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้กำลังแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งกำลังอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งปฏิภาณอันเป็นเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์.
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ
ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ ๕ อย่างนี้แลแก่ปฏิคาหก.

(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ผู้มีปัญญา ให้อายุย่อมได้อายุ ให้กำลังย่อมได้กำลัง
ให้วรรณะย่อมได้วรรณะ ให้ปฏิภาณย่อมได้ปฏิภาณ ให้สุข
ย่อมได้สุข ครั้นให้อายุ กำลัง วรรณะ สุข และปฏิภาณแล้ว
จะเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้นๆ .
-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๔๔/๓๗.

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หลักดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุขในเวลาถัดต่อมา

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธ ร ร ม ๔ ป ร ะ ก า ร เ ห ล่า นี้
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขของกุลบุตร
ในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา
) ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?
๔ ประการคือ :-
สัทธาสัมปทา    (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
สีลสัมปทา    (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
จาคสัมปทา    (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)
ปัญญาสัมปทา    (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)

พ๎ยัคฆปัชชะ ! สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา
เชื่อในการตรัสรู้ของตถาคตว่า
“เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้
เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน
เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท
เป็นผู้เว้นขาดจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า สีลสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน อยู่ครองเรือน
มีจาคะอันปล่อยอยู่เป็นประจำ 
มีฝ่ามืออันชุ่มเป็นปกติ ยินดีแล้วในการสละ
ควรแก่การขอ ยินดีแล้วในการจำแนกทาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

พยัคฆปัชชะ !
ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้
เป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับ
เป็นเครื่องไปจากข้าศึก
เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส
เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า ปัญญาสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล
เป็นธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ของกุลบุตร ในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา).

อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙-๒๙๓/๑๔๔.