วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กระจายเสีย ซึ่งผัสสะ

ภิกษุทั้งหลาย !  วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรม ๒ อย่าง. 
สองอย่างอะไรเล่า ?  สองอย่างคือ :-
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัย
ซึ่ง จักษุ ด้วย
ซึ่ง รูปทั้งหลาย ด้วย 
จักขุวิญญาณ จึงเกิดขึ้น. 
จักษุเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
รูปทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :
ธรรมทั้งสอง (จักษุ+รูป) อย่างนี้แล
เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
จักขุวิญญาณ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น; 
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ,
แม้ เหตุ อันนั้น แม้ ปัจจัย อันนั้น
ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
 
ภิกษุทั้งหลาย !  จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ 
จักขุวิญญาณจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม
ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย (จักษุ+รูป+จักขุวิญญาณ)
๓ อย่าง เหล่านี้ อันใดแล;
 ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า จักขุสัมผัส.
 
ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ จักขุสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัส,
แม้ เหตุ อันนั้น แม้ ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย !  จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ 
จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยง  มาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อม คิด (เจเตติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อม จำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ) :

แม้ธรรมทั้งหลาย (เวทนา, เจตนา, สัญญา)
อย่างนี้เหล่านี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
...
(ในกรณีแห่งโสตวิญญาณก็ดี, ฆานวิญญาณก็ดี, ชิวหาวิญญาณก็ดี, กายวิญญาณก็ดี, ก็มีนัยเดียวกัน).
...
    ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะอาศัยซึ่ง มโนด้วย
ซึ่ง ธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย
มโนวิญญาณ จึงเกิดขึ้น.
มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน  มีความเป็นไปโดยประการอื่น :
ธรรมทั้งสอง (มโน+ธรรมารมณ์) อย่างนี้แล
เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น; 
มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น;
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ,
แม้ เหตุ อันนั้น แม้ ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
 
ภิกษุทั้งหลาย !  มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ 
มโนวิญญาณจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม
ความประชุมพร้อม
ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทั้งหลาย (มโน+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาณ)
๓ อย่าง เหล่านี้ อันใดแล; 
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส.

ภิกษุทั้งหลาย !  แม้มโนสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน  มีความเป็นไปโดยประการอื่น. 
เหตุอันใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัส,
แม้ เหตุ อันนั้น แม้ ปัจจัย อันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น. 
ภิกษุทั้งหลาย ! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว
เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้
มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อม รู้สึก (เวเทติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อม คิด (เจเตติ),
ผัสสะกระทบแล้วย่อม จำได้หมายรู้ (สญฺชานาติ) :

แม้ธรรมทั้งหลาย (เวทนา, เจตนา, สัญญา) อย่างนี้เหล่านี้
ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๘๕/๑๒๔.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น