วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หลักดำรงชีพเพื่อประโยชน์สุขในเวลาถัดต่อมา

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธ ร ร ม ๔ ป ร ะ ก า ร เ ห ล่า นี้
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขของกุลบุตร
ในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา
) ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?
๔ ประการคือ :-
สัทธาสัมปทา    (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
สีลสัมปทา    (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
จาคสัมปทา    (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)
ปัญญาสัมปทา    (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)

พ๎ยัคฆปัชชะ ! สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา
เชื่อในการตรัสรู้ของตถาคตว่า
“เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! สีลสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้
เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน
เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท
เป็นผู้เว้นขาดจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า สีลสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน อยู่ครองเรือน
มีจาคะอันปล่อยอยู่เป็นประจำ 
มีฝ่ามืออันชุ่มเป็นปกติ ยินดีแล้วในการสละ
ควรแก่การขอ ยินดีแล้วในการจำแนกทาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

พยัคฆปัชชะ !
ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้
เป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับ
เป็นเครื่องไปจากข้าศึก
เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส
เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า ปัญญาสัมปทา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล
เป็นธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ของกุลบุตร ในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา).

อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙-๒๙๓/๑๔๔.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น