“แน่ะเธอ ! ที่สุดโลกแห่งใด
อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ;
เราไม่กล่าวว่า
ใครๆ อาจรู้ อาจเห็น
อาจถึงที่สุดแห่งโลกนั้น ได้ด้วยการไป.
“แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่ง
ที่ยังประกอบด้วยสัญญาและใจนี้เอง,
เราได้บัญญัติโลก,
เหตุให้เกิดโลก,
ความดับสนิทไม่เหลือของโลก,
และทางดำเนินให้ถึงความดับสนิทไม่เหลือของโลกไว้” ดังนี้แล.
-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๐/๔๕.
หน้าเว็บ
- หน้าแรก
- ทำไมต้องพุทธวจน
- เล่ม ๑ ตามรอยธรรม
- เล่ม ๒ คู่มือโสดาบัน
- เล่ม ๓ ก้าวย่างอย่างพุทธะ
- เล่ม ๔ มรรค (วิธีที่ )ง่าย
- เล่ม ๕ แก้กรรม
- เล่ม ๖ อานาปานสติ
- เล่ม ๗ ฆราวาสชั้นเลิศ
- เล่ม ๘ อินทรียสังวร
- เล่ม ๙ ปฐมธรรม
- เล่ม ๑๐ สาธยายธรรม
- เล่ม ๑๑ ภพภูมิ
- เล่ม ๑๒ เดรัจฉานวิชา
- เล่ม ๑๓ ทาน
- เล่ม ๑๔ ตถาคต
- เล่ม ๑๕ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา
- เล่ม ๑๖ อนาคามี
- เล่ม ๑๗ จิต มโน วิญญาณ
- เล่ม ๑๘ สกทาคามี
- เล่ม ๑๙ สัตว์
วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
การบวชที่ไร้ประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีพต่ำที่สุด ในบรรดาอาชีพทั้งหลาย
คือการขอทาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! คำสาปแช่งอย่างยิ่งในโลกนี้ คือ
คำสาปแช่งว่า “แกถือกระเบื้องในมือเที่ยวขอทานเถอะ” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! กุลบุตรทั้งหลาย
เข้าถึงอาชีพนี้เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งประโยชน์
เพราะอาศัยอำนาจแห่งประโยชน์,
ไม่ใช่เป็นคนหนีราชทัณฑ์
ไม่ใช่เป็นคนขอให้โจรปล่อยตัวไปบวช
ไม่ใช่เป็นคนหนีหนี้ ไม่ใช่เป็นคนหนีภัย
ไม่ใช่เป็นคนไร้อาชีพ, จึงบวช.
อีกอย่างหนึ่ง กุลบุตรนี้บวชแล้ว โดยที่คิดเช่นนี้ว่า
เราทั้งหลายเป็นผู้ถูกหยั่งเอาแล้ว
โดยชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
เป็นผู้อันความทุกข์หยั่งเอาแล้ว
มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏแก่เรา ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ว่ากุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้
กลับเป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌามีราคะแก่กล้าในกามทั้งหลาย
มีจิตพยาบาท
มีความดำริแห่งใจเป็นไปในทางประทุษร้าย
มีสติอันลืมหลงแล้ว
ไม่มีสัมปชัญญะ
มีจิตไม่ตั้งมั่นแล้ว
มีจิตหมุนไปผิดแล้ว
มีอินทรีย์อันตนไม่สำรวมแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือน
ดุ้นฟืนจากเชิงตะกอน ที่เผาศพ
ยังมีไฟติดอยู่ทั้งสอง
ตรงกลางก็เปื้อนอุจจาระ
ย่อมใช้ประโยชน์เป็นไม้ในบ้านเรือนก็ไม่ได้
ย่อมใช้ประโยชน์เป็นไม้ในป่าก็ไม่ได้,
ข้อนี้ฉันใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามีอุปมาเช่นนั้น; คือ
เป็นผู้เสื่อมจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ด้วย,
ไม่ทำประโยชน์แห่งสมณะให้บริบูรณ์ด้วย.
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๑๓/๑๖๗, ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๓๘/๓๓๐.
คือการขอทาน.
ภิกษุทั้งหลาย ! คำสาปแช่งอย่างยิ่งในโลกนี้ คือ
คำสาปแช่งว่า “แกถือกระเบื้องในมือเที่ยวขอทานเถอะ” ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! กุลบุตรทั้งหลาย
เข้าถึงอาชีพนี้เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งประโยชน์
เพราะอาศัยอำนาจแห่งประโยชน์,
ไม่ใช่เป็นคนหนีราชทัณฑ์
ไม่ใช่เป็นคนขอให้โจรปล่อยตัวไปบวช
ไม่ใช่เป็นคนหนีหนี้ ไม่ใช่เป็นคนหนีภัย
ไม่ใช่เป็นคนไร้อาชีพ, จึงบวช.
อีกอย่างหนึ่ง กุลบุตรนี้บวชแล้ว โดยที่คิดเช่นนี้ว่า
เราทั้งหลายเป็นผู้ถูกหยั่งเอาแล้ว
โดยชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
เป็นผู้อันความทุกข์หยั่งเอาแล้ว
มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏแก่เรา ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ว่ากุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้
กลับเป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌามีราคะแก่กล้าในกามทั้งหลาย
มีจิตพยาบาท
มีความดำริแห่งใจเป็นไปในทางประทุษร้าย
มีสติอันลืมหลงแล้ว
ไม่มีสัมปชัญญะ
มีจิตไม่ตั้งมั่นแล้ว
มีจิตหมุนไปผิดแล้ว
มีอินทรีย์อันตนไม่สำรวมแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือน
ดุ้นฟืนจากเชิงตะกอน ที่เผาศพ
ยังมีไฟติดอยู่ทั้งสอง
ตรงกลางก็เปื้อนอุจจาระ
ย่อมใช้ประโยชน์เป็นไม้ในบ้านเรือนก็ไม่ได้
ย่อมใช้ประโยชน์เป็นไม้ในป่าก็ไม่ได้,
ข้อนี้ฉันใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามีอุปมาเช่นนั้น; คือ
เป็นผู้เสื่อมจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ด้วย,
ไม่ทำประโยชน์แห่งสมณะให้บริบูรณ์ด้วย.
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๑๓/๑๖๗, ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๓๘/๓๓๐.
วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
สิ้นกิเลสก็แล้วกัน ไม่ต้องรู้ว่าสิ้นไปเท่าไร
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือหรือรอยนิ้วหัวแม่มือ
ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้ หรือลูกมือของพวกช่างไม้
แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า
ด้ามเครื่องมือของเรา
วันนี้สึกไปเท่านี้
วานนี้สึกไปเท่านี้
วันอื่นๆ สึกไปเท่านี้ๆ
คงรู้แต่ว่ามันสึกไปๆ เท่านั้น, นี้ฉันใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่
ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า
วันนี้อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้
วานนี้สิ้นไปเท่านี้
วันอื่นๆ สิ้นไปเท่านี้ๆ
รู้แต่เพียงว่า สิ้นไปในเมื่อมันสิ้นไปๆ เท่านั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๗/๖๘.
ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวกช่างไม้ หรือลูกมือของพวกช่างไม้
แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า
ด้ามเครื่องมือของเรา
วันนี้สึกไปเท่านี้
วานนี้สึกไปเท่านี้
วันอื่นๆ สึกไปเท่านี้ๆ
คงรู้แต่ว่ามันสึกไปๆ เท่านั้น, นี้ฉันใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่
ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า
วันนี้อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้
วานนี้สิ้นไปเท่านี้
วันอื่นๆ สิ้นไปเท่านี้ๆ
รู้แต่เพียงว่า สิ้นไปในเมื่อมันสิ้นไปๆ เท่านั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.
-บาลี สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๗/๖๘.
ความอยาก (ตัณหา)คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท
เพราะอาศัยตัณหา (ความอยาก) จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา);
เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);
เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);
เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค);
เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมี ความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ);
เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห);
เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่ (มจฺฉริยํ);
เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น (อารกฺโข);
เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ);
กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม
การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !”
การพูดคำส่อเสียด
และการพูดเท็จทั้งหลาย :
ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม
ด้วยอาการอย่างนี้.
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๖๗/๕๘.
เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);
เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);
เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค);
เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมี ความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ);
เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห);
เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่ (มจฺฉริยํ);
เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น (อารกฺโข);
เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ);
กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม
การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !”
การพูดคำส่อเสียด
และการพูดเท็จทั้งหลาย :
ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม
ด้วยอาการอย่างนี้.
-บาลี มหา. ที. ๑๐/๖๗/๕๘.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)