วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หลักการดำรงชีพ เพื่อประโยชน์สุขในวันหน้า

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้เป็นเพื่อประโยชนเ์กื้อกูล 
เพื่อความสุขของกุลบุตร ในเบื้องหน้า (สัมปรายะ).

๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-

(๑) ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา (สัทธาสัมปทา)
(๒) ความถึงพร้อมด้วยศีล (สีลสัมปทา)
(๓) ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค (จาคสัมปทา)
(๔) ความถึงพร้อมด้วยปัญญา (ปัญญาสัมปทา)

ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา
(สัทธาสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มี
ศรัทธา เชื่อในการตรัสรูข้ องตถาคตว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆ
พระผูมี้พระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ

ได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถ
ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอน
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว”
ดังนี้. พ๎ยัคฆปชั ชะ ! นี้เรียกว้า ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา

ความถึงพร้อมด้วยศีล

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความถึงพร้อมด้วยศีล (สีลสัมปทา)
เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาด
จากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาด
จากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาด
จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน. พ๎ยัคฆปชั ชะ ! นี้เรียกว่า
ความถึงพร้อมด้วยศีล.

ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค
(จาคสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ มีใจปราศจาก
ความตระหนี่อันเป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีจาคะอัน
ปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่มเป็นปกติ ยินดีแล้ว
ในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีแล้วในการจำแนกทาน.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค.

ความถึงพร้อมด้วยปัญญา 

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ความถึงพร้อมด้วยปัญญา
(ปัญญาสัมปทา) เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เปน็ ผูมี้ปญั ญา
ประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับ
เป็นเครื่องไปจากข้าศึก เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส 
เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแหง่ ทุกข์โดยชอบ. 
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า ความถึงพร้อมด้วยปัญญา.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล
เป็นธรรม เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ของกุลบุตร ในเบื้องหน้า.

อฎฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙-๒๙๓/๑๔๔.






1 ความคิดเห็น: