เธอทั้งหลายจงฟัง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เป็นอย่างไร
และสังโยชน์เป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป
ชื่อว่า สังโยชน์.
ภิกษุทั้งหลาย เวทนา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในเวทนา
ชื่อว่า สังโยชน์.
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา
ชื่อว่า สังโยชน์.
ภิกษุทั้งหลาย สังขาร เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสังขาร
ชื่อว่า สังโยชน์.
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ เป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ
ชื่อว่า สังโยชน์.
ภิกษุทั้งหลาย ขันธ์เหล่านี้เรียกว่า
ธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
(ฉนฺทราคะ) นี้เรียกว่า สังโยชน์.
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๘.
(ในสูตรอื่นทรงแสดง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์
ด้วยอายตนะภายในหก -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๑๐/๑๕๙.
และอายตนะภายนอกหก-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๓๕/๑๘๙. -ผู้รวบรวม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น