วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สิ้นนันทิ สิ้นราคะ และสิ้นทุกข์

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแล
ว่าไม่เที่ยง ความเห็นเช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ (การ เห็น
อยู่โดยถูกต้อง) ของเธอนั้น.
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
(สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ
จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.
(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).

(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ
ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะ ภายนอก ๖ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่ง
จักษุ ทุกประการ.)
นันทิกขยวรรค สฬา.สํ. ๑๘ / ๑๗๙ / ๒๔๕-๖.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น