วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ลักษณะการพูดของตถาคต

ราชกุมาร ! ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง
ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.

ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อม
ไม่กล่าววาจานั้น.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบ
ด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคต
ย่อมเลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าววาจานั้น.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ แต่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อม
ไม่กล่าววาจานั้น.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ แต่ก็เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อม
ไม่กล่าววาจานั้น.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วย
ประโยชน์และเป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อมเป็น
ผู้ รู้จักกาละที่เหมาะเพื่อกล่าววาจานั้น.
ม. ม. ๑๓/๙๑/๙๔.

6 ความคิดเห็น:

  1. ลักษณะการพูดของตถาคต

    ตอบลบ
  2. สรุปแล้วมีหลักการสำคัญอยู่ 3 ข้อ คือ 1.ท่านจะไม่พูดในสิ่งที่คนชอบฟัง แต่ไม่เป็นประโยชน์ 2.ท่านจะไม่พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ แต่คนไม่ชอบฟัง 3.ท่านจะพูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และคนชอบฟังเท่านั้น

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. อ่านดีๆสิครับตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบ
      ด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
      ตถาคตย่อมเลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าววาจานั้น

      ลบ
  3. ผมเชื่อด้วยจิตและวิญญาณว่า คำสอนของพุทธองค์นั้นมิใช่ใช้ปัญญาสามัญคิดเหมือนกับหลักการของมนุษย์ทั่วไป แต่เป็นหลักคำสอนที่ใช้ญาณสมาธิคิด เนื่องจากจะหาความคิดจากผัูใดในโลกนี้มาหักล้างได้

    ตอบลบ
  4. 3 นักปราชน์เอกของโลกคือ 1.โสเครตีส 2.เพลโต และ 3 อริสโตเติล ยังมีความคิดใหม่มาหักล้างได้แต่ความคิดเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปียังมิอาจมีผู้ใดมาหักล้างได้ ลองพิจารณาดูเถิดว่าใช้ปัญญาสามัญคิด หรือว่าใช้ญาณสมาธิคิด

    ตอบลบ