(๑) จงเป็นผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งาม
ในกายอยู่
(๒) จงเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้เฉพาะหน้า
ในภายใน
(๓) จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
อยู่เถิด
ภิกษุ ทั้งหลาย. !
(๑) เมื่อเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นอารมณ์ว่า
ไม่งามในกายอยู่ ย่อมละราคานุสัยในเพราะความเป็น
ธาตุงามได้
(๒) เมื่อเธอทั้งหลายเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้
เฉพาะหน้าในภายใน ธรรมเป็นที่มานอนแห่งวิตก
ทั้งหลาย (มิจฉาวิตก) ในภายนอก อันเป็นไปในฝักฝ่าย
แห่งความคับแค้น ย่อมไม่มี
(๓) เมื่อเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
ในสังขารทั้งปวงอยู่ ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น
ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกาย มีสติ
เฉพาะในลมหายใจ
มีความเพียรทุกเมื่อ พิจารณาเห็นซึ่งนิพพาน
อันเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
ภิกษุนั้นแล ผู้เห็นโดยชอบพยายามอยู่ ย่อมน้อม
ไปในนิพพาน
อันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง ภิกษุนั้นแล
ผู้อยู่จบอภิญญา สงบระงับล่วงโยคะเสียได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นมุนี.
อสุภสูตร อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๙๒–๒๙๓/๒๖๔.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น