วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เมื่อไม่มีมา ไม่มีไป ย่อมไม่มีเกิด และไม่มีดับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงชักชวนภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยธัมมิกถาอันเนื่องเฉพาะด้วยนิพพาน,
ได้ทรงเห็นว่าภิกษุทั้งหลายสนใจฟังอย่างยิ่ง จึงได้
ตรัสพระพุทธอุทานนี้ขึ้น ในเวลานั้น ว่า :-
ความหวั่นไหว ย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหา
และทิฏฐิอาศัยแล้ว
(นิสฺสิตสฺส จลิตํ)
ความหวั่นไหว ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้อันตัณหา
และทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว
(อนิสฺสิตสฺส จลิตํ นตฺถิ)
เมื่อความหวั่นไหวไม่มี, ปัสสัทธิ ย่อมมี
(จลิเต อสติ ปสฺสทฺธิ)
เมื่อปัสสัทธิมี, นติ (ความน้อมไป) ย่อมไม่มี
(ปสฺสทฺธิยา สติ นติ น โหติ)
เมื่อนติไม่มี, อาคติคติ (การมาและการไป) ย่อมไม่มี
(นติยา อสติ อาคติคติ น โหติ)
เมื่ออาคติคติไม่มี,
จุตูปปาตะ (การเคลื่อนและการเกิดขึ้น) ย่อมไม่มี
(อาคติคติยา อสติ จุตูปปาโต น โหติ)
เมื่อจุตูปปาตะไม่มี, อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้
ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
(จุตูปปาเต อสติ เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเร)
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.
(เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส)
อุ.ขุ. ๒๕ / ๒๐๘ / ๑๖๑.

พุทธวจน คือที่สุดแห่งทุกข์

1 ความคิดเห็น: